เสถียรภาพในการให้ผลผลิตของสายพันธุ์กลายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

Main Article Content

บุญหงษ์ จงคิด
วุฒิชัย แตงทอง

Abstract

บทคัดย่อ

จากการนำเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ไปฉายรังสีแกมมาความเข้มข้น 20 กิโลแรด และตามด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์กลายที่มีลักษณะดี คือ ไม่มีความไวต่อช่วงแสง มีลำต้นเตี้ย มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น มีลักษณะทนแล้งดีขึ้น และสามารถให้ผลผลิตสูงได้ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ KDML 105’ 10GR-TU-70-3, KDML 105’ 10GR-TU-70-6, KDML 105’ 10GR-TU-70-8 และ KDML 105’ 10GR-TU-70-10 โดยที่สายพันธุ์ KDML 105’ 10GR-TU-70-10 นั้นสามารถให้ผลผลิตต่อไร่ทั้งในสภาพข้าวไร่และข้าวนาดำได้สูงที่สุดที่ 622.4 และ 750.9 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมในท้องที่ปลูกต่าง ๆ ย่อมแตกต่างกันอันจะส่งผลให้การให้ผลผลิตของข้าวแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาเสถียรภาพในการให้ผลผลิตของสายพันธุ์กลายดังกล่าวร่วมกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15 ทั้งในสภาพข้าวไร่และข้าวนาดำใน 4 พื้นที่การทดลอง โดยในแต่ละพื้นที่การทดลองมีการวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ ระยะปลูกของข้าวไร่คือ 25 x 25 เซนติเมตร มีการใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต (16-20-0) อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปลูก 1 วัน และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21 % N) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หลังปลูก 30 วัน ผลปรากฏว่าสายพันธุ์ KDML 105’ 10GR-TU-70-10 นั้นให้ผลผลิตต่อไร่ทั้งในสภาพข้าวไร่และข้าวนาดำสูงที่สุด เฉลี่ยจาก 2 สภาพการปลูก และ 4 พื้นที่ปลูกที่ 686.6 กิโลกรัมต่อไร่ และมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตสูงที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิของเส้นถดถอย (bi) 0.86 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์ข้าวกลายพันธุ์ดังกล่าวนี้สามารถให้ผลผลิตได้ดีในทุกพื้นที่ปลูกโดยทั่วไป

คำสำคัญ : เสถียรภาพในการให้ผลผลิต; สายพันธุ์กลายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105; ไม่ไวต่อช่วงแสง

Abstract

Four mutated KDML 105 lines induced by 20 K-rads gamma-ray were selected based on photo insensitivity, short stature, short harvest age, drought tolerance, and high yielding, namely KDML 105’ 10GR-TU-70-3, KDML 105’ 10GR-TU-70-6, KDML 105’ 10GR-TU-70-8 and KDML 105’ 10GR-TU-70-10. KDML 105’ 10GR-TU-70-10 was the highest yielding line by giving 622.4 and 750.9 kg per rai (1,600 m2) under upland and transplanting methods, respectively. However, the variation of planting environments has a great role in yielding of the mutated rice lines and therefore the evaluation of yielding stability is essential for the determination of the highest yielding line. The 4 mutated lines including KDML 105 and RD 15 were planted under both upland and transplanting methods in 4 locations using RCB with 4 replications to determine their yielding stability. The spacing for upland method was 25 x 25 cm while 30 kg/rai ammonium phosphate (16-20-0) and 20 kg/rai ammonium sulphate (21 % N) were applied at 1 day before planting and 30 days after planting, respectively. The spacing for transplanting method was 25 x 25 cm whereas the same fertilizers at the same rates were applied at 1 day before transplanting and at 30 day after transplanting, respectively. As a result, KDML 105’ 10GR-TU-70-10 was the highest yielding line at 686.6 kg per rai (1,600 m2), giving the highest yielding stability with regression coefficient of 0.86.

Keywords: yielding stability; mutated KDML 105 lines; photo insensitivity

Article Details

Section
บทความวิจัย