ผลการทำลายของไส้เดือนฝอยรากปมต่อผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์กลาย

Main Article Content

บุญหงษ์ จงคิด
วุฒิชัย แตงทอง

Abstract

บทคัดย่อ

เมื่อนำข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่กลายพันธุ์โดยการอาบรังสีแกมมาความเข้มข้น 20 กิโลแรด จำนวน 4 สายพันธุ์ ไปปลูกทดสอบความต้านทานต่อการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยรากปมร่วมกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ในสภาพข้าวไร่ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ ที่ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง ตำบลคลองเจ็ด อำเภอหนองเสือ และที่ตำบลศีรษะกระบือ อำเภอองครักษ์ โดยใช้ระยะปลูก 25 x 25 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยสูตรแอมโมเนียมฟอสเฟต (16-20-0) อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปลูก 1 วัน และใส่ปุ๋ยสูตรแอมโมเนียมซัลเฟต (21 % N) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หลังปลูก 30 วัน พบว่าสายพันธุ์ KDML 105’ 10GR-TU-70-10 มีจำนวนปมต่อรากที่ถูกทำลายน้อยที่สุดที่ 0.7 ในขณะที่สายพันธุ์ KDML 105’ 10GR-TU-70-3, KDML 105’ 10GR-TU-70-6, KDML 105’ 10GR-TU-70-8, กข 15 และขาวดอกมะลิ 105 มีจำนวนปมต่อรากเป็น 2.7, 1.8, 1.5, 1.6, และ 2.4 ตามลำดับ และการเข้าทำลายของไส้เดือยฝอยรากปมมีผลต่อการให้ผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ KDML 105’ 10GR-TU-70-10 น้อยที่สุด โดยทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงจากผลผลิตในสภาพที่ไม่มีการทำลายของไส้เดือนฝอยรากปมเพียง 19.5 กิโลกรัม ในขณะที่สายพันธุ์ KDML 105’ 10GR-TU-70-3, KDML 105’ 10GR-TU-70-6, KDML 105’ 10GR-TU-70-8, กข 15 และขาวดอกมะลิ 105 มีผลผลิตลดลงจากสภาพปกติ 35.0, 30.2, 30.5, 20.8 และ 28.8 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ

คำสำคัญ : ไส้เดือนฝอยรากปม; ขาวดอกมะลิ 105; รังสีแกมมา; KDML 105’ 10GR-TU-70-10; กข 15

Abstract

Four KDML 105 mutant lines, RD 15 and KDML 105 were grown under upland conditions to

evaluate their resistance to the root knot nematode (Meloidogyne graminicola) at Tumbol Khlong 5 of Amphur Klongluang, Tumbol Khlong 7 of Amphur Nongsua, and Tumbol Srisakrabue of Amphur Ongkarak using RCB with 4 replicates. Their planting spaces were 25 x 25 cm, each with 5 rows of 21 hills. 30 kg/rai ammonium phosphate (16-20-0) and 20 kg/rai ammonium sulphate (21 % N) were applied at 1 day before planting and 30 days after planting, respectively. KDML 105’ 10GR-TU-70-10 had the least number of root knots at 0.7 whereas KDML 105’ 10GR-10-70-3, KDML 105’ 10GR-10-70-6, KDML 105’ 10GR-10-70-8, RD 15 and KDML 105 had the numbers of root knots at 2.7, 1.8, 1.5, 1.6 and 2.4, respectively. KDML 105’ 10GR-10-70-10 also had the least yielding effect from the infection with its seed yield reduction of 19.5 kg/rai while KDML 105’ 10GR-10-70-3, KDML 105’ 10GR-10-70-6, KDML 105’ 10GR-10-70-8, RD 15 and KDML 105 had their seed yield reductions of 35.0, 30.2, 30.5, 20.8 and 28.8 kg/rai, respectively.

Keywords: root knot nematode; KDML 105; gamma-ray; KDML 105 mutant lines; RD 15

Article Details

Section
บทความวิจัย