ไวรัสไข้หวัดใหญ่และยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน

Main Article Content

ศุภกาญจน์ ชำนิ

Abstract

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ในประเทศจีนถือเป็นภาวะคุกคามด้านสุขภาพที่สร้างความตื่นตระหนกและความวิตกกังวลแก่ประชาชนทั่วโลก เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อจำกัดในการผลิตวัคซีนป้องกันโรค ปัญหาการกลายอย่างรวดเร็ว การดื้อยาอย่างรุนแรงของไวรัส การแพร่ระบาดของไวรัสจากสัตว์สู่คนและจากคนสู่คนอย่างรวดเร็วและการอุบัติซ้ำของโรคไข้หวัดใหญ่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้นักวิจัยทั่วโลกต่างให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสารต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาสารยับยั้งการทำงานเอนไซม์ neuraminidase ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการออกจากเซลล์ของไวรัส เอนไซม์ neuraminidase เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในไวรัสไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ และมีลักษณะของ active site คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแม้ว่าไวรัสจะเกิดการกลาย จึงถือเป็นกลไกที่สำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดและการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากไวรัสทุกสายพันธุ์ รวมถึงสายพันธุ์ที่เพิ่งค้นพบและสายพันธุ์ที่ดื้อยา ปัจจุบันยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดยับยั้งการทำงานเอนไซม์ neuraminidase ที่ได้รับการอนุญาตให้จัดจำหน่ายทั่วโลกมีเพียง 2 ชนิด คือ Tamiflu® (อนุพันธ์ของ oseltamivir ในรูปเกลือฟอสเฟต) และ Relenza® (zanamivir) ดังนั้นการค้นหาสารยับยั้งการทำงานเอนไซม์ neuraminidase ชนิดใหม่จึงถือเป็นกระบวนการที่จำเป็นต่อการรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีสารสังเคราะห์หลายชนิดที่ได้รับการศึกษาและพัฒนาจนผ่านเข้าสู่กระบวนการทดลองทางคลินิกขั้นที่ 2 และ 3 ได้แก่ favipiravir (T-705), TCAD combo, laninamivir (CS8959), peramivir (RWJ-270201), fludase (DAS181) และ nitazoxanide ซึ่งสามารถใช้ต่อต้านไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีแนวโน้มที่จะสามารถใช้เป็นยาต่อต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ในอนาคต

คำสำคัญ : ไข้หวัดใหญ่; ไข้หวัดนก; ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่; สารยับยั้งการทำงานเอนไซม์ neuraminidase

 

Abstract

Recently reports of an H7N9 avian influenza outbreak in China have caused the serious global public health concern for the next influenza pandemic control. Lack of effective and sufficient vaccine, frequently viral antigenic drifting, high rate of anti-viral drug resistances, rapid animal-to-human and human-to-human viral transmission and regularly repeating influenza pandemic are an important pitfall for treatment and prophylaxis of influenza infection. Regarding to these provisos, the development of new anti-influenza drugs is significantly an argent need, focusing on the development of new neuraminidase inhibitors. Neuraminidase is a surface glycoprotein enzyme that involves in viral release from host cell. Importantly, the influenza virus neuraminidase active site contains amino acid residues that are conserved in all influenza viral subtypes, including new viral strains and anti-viral drug resistance subtypes. Therefore, neuraminidase is an essential therapeutic target for the discovery and development of anti-influenza therapeutic agents. To date, only two commercially developed anti-influenza drugs, Tamiflu® (the phosphate salt of oseltamivir ethyl ester) and Relenza® (zanamivir) which were approved by US FDA in 1999, are international prescribed to inhibit the activity of neuraminidase meaning to control influenza infection in human. Thus, a number of new synthetic entries having unique structural frameworks and biological properties such as favipiravir (T-705), TCAD combo, laninamivir (CS8959), peramivir (RWJ-270201), fludase (DAS181) and nitazoxanide, are developed as novel neuraminidase inhibitors and are studying in phase II and III clinical trials as the potential neuraminidase inhibitors for treatment and control of the future global influenza outbreaks.

Keywords: influenza; avian influenza; anti-influenza drug; neuraminidase inhibitor

Article Details

Section
บทความวิชาการ