ความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์กับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ : กรณีศึกษาในประเทศไทย

Main Article Content

สุรเมศวร์ ฮาชิม
รมิดา ศรีเหรา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความเป็นเหตุเป็นผลของ Granger ระหว่างดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เงินยูโร เงินปอนด์อังกฤษ และเงินเยนญี่ปุ่น โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิเป็นข้อมูลรายเดือนระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2542 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 และแบ่งช่วงเวลาในการศึกษาเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2542 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ช่วงที่ 2 ก่อนเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2542 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2544  ช่วงที่ 3 หลังเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 และช่วงที่ 4 ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 หลังเกิดปัญหาวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา ผลการวิจัยพบว่าดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างค่าเงินบาทและเงินเยนญี่ปุ่นในทุกช่วงเวลาที่ศึกษา และมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างค่าเงินบาทและเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในทุกช่วงเวลาที่ศึกษา ยกเว้นในช่วงหลังเกิดปัญหาวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา ในส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ในเชิงความเป็นเหตุเป็นผลของ Granger ในภาพรวมตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2542 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างค่าเงินบาทและเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา แต่ในช่วงเวลาภายหลังจากการเกิดปัญหาวิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกา อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ได้แก่ เงินยูโร เงินปอนด์อังกฤษ และเงินเยนญี่ปุ่น จะเป็นตัวกำหนดดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

คำสำคัญ : ความเป็นเหตุเป็นผล; ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์; อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

 

Abstract

This study attempts to examine the relationship and Granger causality between Thailand stock indices and exchange rate baht/usd, baht/eur, baht/gbp and baht/yen. The monthly secondary data from January 1999 to June 2012 are partitioned into four data sets. The first set is from January 1999 to June 2012. The second set is before the September 11th from January 1999 to September 2011. The third set is after the September 11th, 2011 from October 2011 to August 2007. The fourth set is after the USA Financial Crisis from September 2007 to June 2012. The results of empirical study indicate that there is a long-run equilibrium between Thailand stock indices and exchange rate baht/yen in all data sets. And also, there is a long-run equilibrium between Thailand stock indices and exchange rate baht/usd in all data sets except after the USA Financial Crisis. By using the Granger Causality model, the results suggest that over the course of 13 years from January 1999 to June 2012 there exists relationship between Thailand stock indices and exchange rate baht/usd. The stock indices lead exchange rate. On the other hands, after the USA Financial Crisis, the exchange rate baht/eur, baht/gbp and baht/yen lead Thailand stock indices.

 

Keywords: causality; stock market index; exchange rate

Article Details

Section
Physical Sciences