การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลกุหลาบด้วยเครื่องหมายแฮตอาร์เอพีดี

Main Article Content

นฤมล ธนานันต์
วริสรา แทนสง่า
ธีระชัย ธนานันต์

Abstract

บทคัดย่อ

กล้วยไม้สกุลกุหลาบเป็นกล้วยไม้ที่มีความสำคัญและได้รับความนิยม จึงมีการปรับปรุงพันธุ์ด้วยการผสมพันธุ์และขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทำให้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง ดังนั้นการจำแนกพันธุ์ด้วยลักษณะสัณฐานจึงมีความยุ่งยากและเกิดความสับสนง่าย งานวิจัยนี้ได้นำเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีมาตรวจสอบพันธุ์กล้วยไม้สกุลกุหลาบ 15 พันธุ์ โดยใช้ไพรเมอร์แบบสุ่ม 72 ชนิด พบว่าไพรเมอร์ 57 ชนิด สามารถเพิ่มปริมาณ ดีเอ็นเอได้ เมื่อคัดเลือกไพรเมอร์ 24 ชนิด ซึ่งให้ลายพิมพ์ดีเอ็นเออย่างชัดเจนมาตรวจสอบกับดีเอ็นเอของกล้วยไม้สกุลกุหลาบแต่ละพันธุ์ พบว่าสามารถแยกความแตกต่างระหว่างพันธุ์ออกจากกันได้ด้วยแถบดีเอ็นเอที่จำเพาะกับพันธุ์ ผลการวิจัยพบว่ามีไพรเมอร์ 20 ชนิด ที่สามารถจำแนกกล้วยไม้สกุลกุหลาบทั้งหมดได้ด้วยการใช้ไพรเมอร์เพียงชนิดเดียวสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.32 ถึง 0.75 นอกจากนั้นผลการวิจัยครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายแฮตอาร์เอพีดีสามารถระบุพันธุ์ของกล้วยไม้สกุลกุหลาบและสามารถใช้วางแผนการผสมพันธุ์เพื่อพัฒนาพันธุ์ใหม่ได้

คำสำคัญ : สกุลกุหลาบ; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม; เครื่องหมายดีเอ็นเอ; แฮตอาร์เอพีดี

 

Abstract

Aerides is an important and most popular Thai orchid. High genetic diversity was found in this genus according to cross breeding and propagation by using tissue culture. Therefore, identification base on morphology may cumbersome and confusing easily. High annealing temperature-random amplified polymorphic DNA (HAT-RAPD) technique was used to identify 15 cultivars of Aerides. The total 72 random primers were screened and 57 primers could be used for DNA amplification. Twenty-four primers were selected and used analyze each DNA cultivars of Aerides. These results showed differences among 15 cultivars with specific DNA bands. Twenty of 24 random primers were able to identify each cultivars even though using as only one primer. A dendrogram based on polymorphic bands showed genetic similarities among Aerides with similarity coefficients ranging 0.32-0.75. Finally, these results indicate that the HAT-RAPD markers capable to specify Aerides, which used to planning in the breeding program.

Keywords: Aerides; genetic relationship; DNA marker; HAT-RAPD

Article Details

Section
Biological Sciences