การสำรวจราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาบริเวณเขตรากไผ่ 5 พันธุ์

Main Article Content

ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก
นาฏยา แพทย์พิทักษ์
พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ

การสำรวจราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาในดินบริเวณเขตรากของไผ่ จำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่ ไผ่กิมซุ่ง (Bambusa beecheyama) ไผ่สีสุก (B. blumeana) ไผ่เลี้ยงบ้าน (B. multiplex Lour.) ไผ่หม่าจู๋ (Dendrocalamus latiforus Munro) และไผ่ซางนวล (D. membranaceus) ในพื้นที่ป่าธรรมชาติ จังหวัดกาญจนบุรี และพื้นที่เกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรี โดยสำรวจความหนาแน่นของประชากร จำนวนชนิดในกลุ่มประชากร และความสามรถในการเข้าอยู่อาศัยในรากพืชอาศัยของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่พบในบริเวณเขตรากไผ่ พบว่าดินบริเวณเขตรากไผ่ในพื้นที่ป่าธรรมชาติมีความหนาแน่นของประชากรและจำนวนชนิดในกลุ่มประชากรมากกว่าในพื้นที่เกษตรกรรมมีผลทำให้การเข้าอยู่อาศัยในรากของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่พบในบริเวณเขตรากไผ่ในป่าธรรมชาติมีมากกว่าในพื้นที่เกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม พันธุ์ไผ่ที่ปลูกในพื้นที่เกษตรกรรมมีการตอบสนองต่อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่างกัน โดยพบว่า ความสามารถในการเข้าอยู่อาศัยในรากของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาในดินบริเวณเขตรากของไผ่กิมซุ่งและไผ่หม่าจู๋มีมากกว่าไผ่พันธุ์อื่น

คำสำคัญ : ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา; ไผ่

 

Abstract

A survey of the arbuscular mycorrhizal (AM) status of bamboo rhizosphere, including 5 cultivars of bamboo, namely, Kim Sung (Bambusa beecheyama) Si Suk (B. blumeana) Leang Ban (B. multiplex Lour.) Mah Juh (Dendrocalamus latiforus Munro) and Shang Nuan (D. membrane-ceus) in native forest of Kanchanaburi province and in bamboo plantation of Supanburi province were studied. The objectives were to determine AM population density and species composition in AM community of bamboo rhizosphere and to examine infectivity of those AM fungi in host plant (Gramineae) roots. The results revealed that all bamboos, which are grown in native forestry, had more AM population density and species number in community and its infectivity than those in bamboo plantation. However, bamboos in plantation area have difference response in term of AM infectivity. Soil from rhizosphere of Kim Sung and Mah Juh have the highest infection of AM fungi than other bamboo varieties.

Keywords: arbuscular mycorrhizal fungi; bamboo

Article Details

Section
Biological Sciences