ผลของการใช้แผนปฏิบัติการที่พัฒนาจากกระบวนการเอไอซีต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของเด็กในสถานสงเคราะห์และดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย

Main Article Content

กานต์พิชชา ยะนา
ปรีย์กมล รัชนกุล
วนลดา ทองใบ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลที่ได้จากการสร้างแผนปฏิบัติการจากการมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการเอไอซี ในการทำให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของเด็กในสถานสงเคราะห์และลดค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็ก อายุระหว่าง 13-15 ปี ที่อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์ในจังหวัดอ่างทอง จำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำการวิจัย ได้แก่ แผนปฏิบัติการที่พัฒนาจากกระบวนการเอไอซีในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของแกนนำเด็กจำนวน 20 คน จากนั้นจึงนำไปปฏิบัติร่วมกันกับเด็กกลุ่มทดลองอีก 18 คน ส่วนกลุ่มควบคุม 20 คน ได้รับการดูแลปกติ เก็บข้อมูลก่อนดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ 1 สัปดาห์ และหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม 4  สัปดาห์ โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของเด็กในสถานสงเคราะห์ และแบบเก็บค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบ เทียบความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ independent t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของเด็กในสถานสงเคราะห์ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในกลุ่มทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการสร้างแผนปฏิบัติการด้วยกระบวนการเอไอซีมีประสิทธิภาพในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้ เลือดออกของเด็กในสถานสงเคราะห์และลดค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย จึงควรมีการติดตามการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมที่ยั่งยืน

คำสำคัญ : กระบวนการเอไอซี; พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก; ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย; เด็กในสถานสงเคราะห์

 

Abstract

The purpose of this quasi-experimental study was to assess the effects of an appreciation influence control (AIC) process-based action plan on children’s behaviors in preventing dengue haemorrhagic fever (DHF) and on the mosquito larvae index at a shelter. The sample group consisted of 58 children aged 13 to15 years living in a shelter in Angthong province of Thailand. The research tool used in this study was an AIC process-base action plan for preventing DHF derived from 20 trained leaders then the plan was implemented in the experimental group of 18 children. The control group (20 children) received usual care and service. Data were collected by using questionnaires that included a demographic data form, DHF preventing behaviors and a mosquito larvae index. Data were collected at 1 week before implementation and at 4 weeks after implementation. The tool validity was approved by 3 validators. The Cronbach’s alpha coefficient for the questionnaire was 0.80. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test. The results indicated that the mean score for preventing DHF behaviors in the experimental group was significantly higher than that of the control group (p <0.05) and significantly higher than that before the experiment (p < 0.01), while the mosquito larvae index in the shelter of the experimental group was significantly lower than that before the experiment (p < 0.05). This study suggests that an AIC process-based action plan is the effective measure to prevent of DHF behaviors of dependent children in a shelter. Further study that includes follow-up time is recommended.

Keywords: AIC process-based action plan; preventing dengue haemorrhagic fever behaviors; Mosquito larvae index; children in a shelter

Article Details

Section
Medical Sciences