แนวทางการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ

Main Article Content

วีระชัย ทิตภากร

Abstract

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการดัดแปลงพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตนั้นสามารถทำได้โดยเทคนิคทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่และพันธุวิศวกรรม ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการในการดูแล ตรวจสอบ และป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้วิจัยและต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม หลังทำการปลดปล่อยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม จึงได้มีแนวทางการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพตามพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) โดยประเทศไทยได้จัดทำแนวทางปฏิบัติและมีการร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยชีวภาพ มีการจัดตั้งคณะกรรมการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพในระดับประเทศ และมีการจัดตั้งกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพในแต่ละหน่วยงานหรือสถาบัน เพื่อกำกับ ดูแล งานวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลงานวิจัย กำหนดประเภทงานวิจัยตามระดับความปลอดภัย รวมทั้งตรวจสอบและให้คำแนะนำในการจัดเตรียมห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องและรองรับการปฏิบัติงานวิจัยในประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้คณะกรรมการยังมีบทบาทในการให้ความรู้แก่นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย บทความวิชาการฉบับนี้ได้สรุปแนวทางปฏิบัติ การกำหนดประเภท การดำเนินงานของผู้วิจัยและคณะกรรมการ จากการจัดการอบรม “แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ ครั้งที่ 2” ในวันที่ 20 มีนาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่และเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับนักวิจัย

คำสำคัญ : เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่; พันธุวิศวกรรม; สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม; คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ; แนวทางปฏิบัติ


Abstract

Modern biotechnology and genetic engineering have been applied to modify the genetic material of living organism (genetic modified organism, GMO). Prevention of adverse effect to human, animal, plant and environment is crucial needed. Therefore, Cartagena Protocol on Biosafety, an international agreement has been adopted including Thailand. To take responsibility for this agreement, the Biosafety bill of Thailand has been proposed by Ministry of National Resources and Environment, Thailand. The role of TBC is to advice to institutional biosafety committee (IBC) which is responsible for institute level. The role of IBC is to prepare a guideline, advice, classify the biosafety level, review the research protocol and procedure, and evaluate the facilities to ensure the biosafety guideline is met. Regarding to this, the IBC of Thammasat University has been appointed. The biosafety training course organized by IBC of Thammasat held on 20 March 2014 was concluded and summarized in this article which researcher can be used as a guideline and applied to conduct a safe research in Thammasat University.

Keywords: modern biotechnology; genetic engineering; genetic modified organism (GMO); biosafety committee, guideline

Article Details

Section
Biological Sciences