ปัจจัยที่มีผลต่อการสกัดสารแอนโธไซยานินจากข้าวโพดสีม่วง

Main Article Content

รัตนา ม่วงรัตน์
กรวิกา สกุลไกรพีระ
ธัญญารัตน์ บุระคำ
ลีลาวดี ชมนาน

Abstract

บทคัดย่อ

ซังสดของข้าวโพดสีม่วงมีสารแอนโธไซยานินมากกว่าไหมสด และเมล็ดสดของข้าวโพดสีม่วง ตามลำดับ (เทียบจากน้ำหนักแห้งเท่ากัน) โดยตัวทำละลายเมทานอลสามารถสกัดสารแอนโธไซยานินได้มากกว่าเอทานอลและน้ำ ตามลำดับ เมื่อสกัดด้วยวิธีการสกัดแบบซอกห์เลต (soxhlet extraction) เมทานอลสามารถสกัดสารแอนโธ-  ไซยานินได้สูงกว่าเอทานอล เมื่ออัตราส่วนน้ำหนักซังข้าวโพดสีม่วงต่อตัวทำละลายเท่ากับ 1:13 ที่ความเข้มข้นของตัวทำละลายเมทานอลเท่ากับ 90 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก สามารถสกัดสารแอนโธไซยานินจากซังข้าวโพดสีม่วงได้มากที่สุด นอกจากนี้ที่อัตราส่วนน้ำหนักซังข้าวโพดสีม่วงต่อตัวทำละลายเท่ากับ 1:13 ในทุกระดับความเข้มข้นของตัวทำละลายเอทานอลและเมทานอล (100, 90 และ 70 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก) สามารถสกัดสารแอนโธไซยานินได้มากกว่าที่อัตราส่วนน้ำหนักซังข้าวโพดสีม่วงต่อตัวทำละลายเท่ากับ 1:17 และ 1:20 ตามลำดับ แต่เมื่ออัตราส่วนน้ำหนักซังข้าวโพดสีม่วงต่อตัวทำละลายเพิ่มขึ้นจะพบว่าที่ความเข้มข้นตัวทำละลาย  70 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก จะสกัดสารแอนโธไซยานินได้ดีกว่าความเข้มข้นของตัวทำละลาย  90 และ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ตามลำดับ เวลาในการสกัดมีผลต่อปริมาณสารแอนโธไซยานินที่สกัดได้โดยปริมาณสารแอนโธไซยานินจะลดลงเมื่อเวลาสกัดนานขึ้น สภาวะความเป็นกรดและเวลาในการเก็บรักษามีผลต่อความคงตัวของสารแอนโธไซยานิน โดยสภาวะความเป็นกรดสูง (pH ต่ำ) จะมีปริมาณสาร แอนโธไซยานินมากกว่าที่สภาวะความเป็นกรดต่ำ (pH สูง) และปริมาณสารแอนโธไซยานินจะลดลงเมื่อเวลาในการเก็บรักษานานขึ้น สารแอนโธไซยานินที่ถูกสกัดออกมาจากซังข้าวโพดสีม่วงด้วยตัวทำละลายเมทานอลมีความสามารถในการต้านสารอนุมูลอิสระได้สูงกว่าสารแอนโธไซยานินที่ถูกสกัดออกมาจากซังข้าวโพดสีม่วงด้วยตัวทำละลายเอทานอล โดยปริมาณความเข้มข้นของสารสกัดแอนโธไซยานินด้วยเมทานอลและเอทานอลมีค่าการยับยั้งสาร DPPH 50 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเข้มข้น 75.5 และ 101.7 กรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ

คำสำคัญ : แอนโธไซยานิน; ข้าวโพดสีม่วง; เอทานอล; เมทานอล; การยับยั้งสาร DPPH

 

Abstract

Fresh purple corncobs contained a higher amount of total anthocyanins than purple cornsilks and cornkernels, respectively (dry weight equivalent). Methanol has been generally found to be more efficient in extraction of anthocyanins than ethanol and water, respectively. When soxhlet extraction method was applied, it was found that methanol could extract the greater total anthocyanin contents than ethanol and water, respectively. A 1:13 of fresh purple corncorbs sample to solvent ratio (% w/w) at 90 % w/w of methanol solvent concentration obtained the highest anthocyanin yield. Moreover, this particular ratio of ethanol and methanol solvent concentration (100, 90 and 70 % w/w) achieved the higher total anthocyanin yield than 1:17 and 1:20 sample to solvent ratio, respectively. However when the sample to solvent ratio increased, 70 % w/w of solvent concentration gave the higher content of  total anthocyanins than 90 and 100 % w/w of solvent concentration. The extraction time also affected the total anthocyanin contents. As time was increasing, the total anthocyanin contents decreased. Acidic condition and storage time of the extract product has affected an anthocyanin stability. The total anthocyanin contents at high acidic condition (low pH) were higher than at low acidic condition (high pH). Additionally, the total anthocyanin contents decreased for longer time storage. Anthocyanins from purple corncobs extracted in methanol had a higher antioxidant capacity than extraction in ethanol. The 50 % inhibition of the DPPH radical determined in methanol and ethanol extracts of purple corncobs were found to be 75.5 and 101.7 g/mL, respectively.

Keywords: anthocyanins; ethanol, DPPH inhibition; methanol; purple corn

Article Details

Section
Biological Sciences