การเปรียบเทียบวิธีการตรวจหา Coliform Bacteria และ Escherichia coli ด้วยวิธี International Standards Organization และ Lactose Peptone Broth ในตัวอย่างน้ำใช้จากฟาร์มสัตว์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียชนิด coliform bacteria และ Escherichia coli (E. coli) ในน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภคภายในฟาร์มสัตว์นับเป็นปัญหาหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของสัตว์และเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกร การตรวจสอบคุณภาพน้ำให้ได้ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำใช้ในฟาร์มจึงเป็นสิ่งสำคัญ เกษตรกรจำเป็นต้องส่งตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในห้องปฏิบัติการเป็นประจำสม่ำเสมอและรอผลการตรวจอย่างน้อย 4-6 วันจึงจะทราบผล ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงทำการเปรียบเทียบอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด lactose peptone broth (LPB) กับวิธีการตรวจตามมาตรฐาน ของ International Standards Organization (ISO) Reference 9308-2 ซึ่งได้แก่วิธี most probable number (MPN) เพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อ coliform และ E. coli จากผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด LPB กับตัวอย่างน้ำที่ส่งตรวจทั้งสิ้นจำนวน 201 ตัวอย่าง ผลการศึกษาที่ได้พบว่าประสิทธิภาพของอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด LPB ต่อเชื้อ coliform bacteria มีค่าความไวและค่าความจำเพาะเท่ากับร้อยละ 87.74 และ 88.42 ตามลำดับ และสำหรับการตรวจหาเชื้อ E. coli พบว่ามีค่าความไวและค่าความจำเพาะเท่ากับร้อยละ 95.59 และ 87.22 ตามลำดับ นอกจากนั้นอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด LPB สามารถตรวจพบเชื้อได้ตั้งแต่ระดับ 0.5 CFU/ 100 ml (ร้อยละ 60) ในระดับ 1 CFU/100 ml (ร้อยละ 70) และระดับ 1.5-2.5 CFU/100 ml (ร้อยละ 100) ซึ่งเป็นผลดีต่อการเฝ้าระวังในการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้มีประสิทธิภาพก่อนนำน้ำไปใช้ประโยชน์ เกษตรกรสามารถตรวจได้ด้วยตนเอง เนื่องจากง่ายต่อการใช้งาน ช่วยลดระยะเวลาในการตรวจหาเชื้อ coliform และ E. coli ทำให้ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 24-48 ชั่วโมง
คำสำคัญ : most probable number; lactose peptone broth; coliform bacteria; Escherichia coli
Abstract
The problem of bacterial contamination of Coliform bacteria and Escherichia coli (E. coli) in water used for consumption in farm animals is the one of the major problems affecting to the health of livestock and causes economic losses of farmers. Therefore monitoring of water quality in livestock is important. Consequently, determination of water quality in laboratory could be done routinely but it took time at least 4-6 days for final report. In this study, the efficacy of the lactose peptone broth (LPB) based on the standard protocol of International Standards Organization (ISO) Reference 9308-2 was compared with that most probable number (MPN) method for microbiological quality of water. The totally of water samples for examination were 201 samples. The studies have found that the performance of the LPB to detect coliform bacteria with the sensitivity and the specificity were 87.74 and 88.42 % respectively. The detection of E. coli was found in the sensitivity and the specificity were 95.59 and 87.22 %, respectively. Furthermore, LPB can be detected the E. coli at level of 0.5 CFU/100 ml at 60 %. The level of 1 CFU/100 ml can be detected at 70 % and the level of 1.5-2.5 CFU/100 ml can be detected at 100 %. This is effective for surveillance and importance for improve the water quality in livestock. Moreover, the LPB can reduce the turnaround time of Coliform and E. coli detection within 24-48 hours and easy to perform.
Keywords: most probable number; lactose peptone broth; coliform bacteria; Escherichia coli