การบำบัดน้ำสีรีแอคทีฟบลูความเข้มข้นสูงด้วยปฏิกิริยาเฟนตันและเสมือนเฟนตันที่ใช้ผงตะไบเหล็ก

Main Article Content

ศิริพรรณ พฤกธารา
ภารดี ช่วยบำรุง
ชุตินันท์ พูลเกิด
สิทธิสุนทร สุโพธิณะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการบำบัดน้ำสีรีแอคทีฟบลูความเข้มข้นสูงในช่วง 1,000-3,000 มิลลิกรัม/ลิตร ด้วยปฏิกิริยาเสมือนเฟนตันจากการใช้ผงตะไบเหล็กขนาดน้อยกว่า 38, 38-45, 75-90 ไมครอน และคละขนาด เปรียบเทียบกับปฏิกิริยาเฟนตันที่ใช้เฟอรัสซัลเฟต โดยเริ่มจากการศึกษาความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมตั้งแต่ 2.0-3.0 ศึกษาความเข้มข้นของเหล็กที่เหมาะสม และศึกษาสัดส่วนโดยโมลของเหล็ก : ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เหมาะสมในระยะเวลาการบำบัด 3 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสม คือ 2 ทั้งในปฏิกิริยาเฟนตันและเสมือนเฟนตัน โดยน้ำสี 1,000, 2,000 และ 3,000 มิลลิกรัม/ลิตร การใช้เหล็ก 6, 11 และ 14 มิลลิโมลาร์ เพียงพอต่อการกำจัดสีความเข้มข้นดังกล่าว ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนโดยโมลของการใช้เหล็ก : ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สำหรับกำจัดน้ำสี 1,000 มิลลิกรัม/ลิตร คือ 6 : 60 มิลลิโมลาร์ น้ำสี 2,000 มิลลิกรัม/ลิตร คือ 11 : 110 มิลลิโมลาร์ ส่วนน้ำสี 3,000 มิลลิกรัม/ลิตร สัดส่วนที่เหมาะสมในปฏิกิริยาเฟนตันคือ 14 : 560 มิลลิโมลาร์ ในปฏิกิริยาเสมือนเฟนตัน คือ 14 : 140 มิลลิโมลาร์ โดยในระยะเวลา 3 ชั่วโมง ปฏิกิริยาเฟนตันบำบัดสีได้เร็วกว่าปฏิกิริยาเสมือนเฟนตันมาก แม้ว่าประสิทธิภาพโดยรวมจะใกล้เคียงกัน คือ 99.4-99.8 % ก็ตาม แต่หากทิ้งให้เกิดปฏิกิริยาอย่างต่อเนื่องจนถึง 35 ชั่วโมง พบว่าผงตะไบเหล็กคละขนาดสามารถกำจัดสีได้ใกล้เคียงกับปฏิกิริยาเฟนตัน การนำผงตะไบเหล็กมาใช้ทดแทนเฟอรัสซัลเฟตจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำสีได้มาก 


คำสำคัญ : เฟนตัน; เสมือนเฟนตัน; ผงตะไบเหล็ก; สีรีแอคทีฟบลู

Article Details

บท
Biological Sciences
Author Biographies

ศิริพรรณ พฤกธารา

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ภารดี ช่วยบำรุง

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ชุตินันท์ พูลเกิด

โครงการสหวิทยาการ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมขั้นสูงและยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

สิทธิสุนทร สุโพธิณะ

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

References

[1] Lin, S.H. and Lai, C.L., 1999, Catalytic oxidation of dye wastewater by metal oxide catalyst and granular activated carbon, Environ. Int. 25: 497-504.
[2] Panswad, T. and Lunagdilok, W., 2000, Decolorization of reactive dyes with different molecular structures under different environmental conditions, Water Res. 34: 4177-4184.
[3] Kušić, H., Božić, L. and Koprivanac, N., 2007, Fenton type processes for minimization of organic content in colored wastewaters: part I: processes optimization, Dyes Pigments 74: 380-387.
[4] Hassan, H. and Hameed, B.H., 2011, Fe-clay as effective heterogeneous Fenton catalyst for the decolorization of reactive blue 4, Chem. Eng. J. 171: 912-918.
[5] Zhang, H., Zhang, J., Zhang, C., Liu, F. and Zhang, D., 2009, Degradation of C.I. Acid Orange 7 by the advanced Fenton process in combination with ultrasonic irradiation, Ultrasonics Sonochem. 16: 325-330.
[6] Neamtu, M., Yediler, A., Siminiceanu, I. and Kettrup, A., 2003, Oxidation of commercial reactive azo dye aqueous solutions by the photo-Fenton and Fenton-like processes, J. Photochem. Photobiol. A Chem. 161: 87-93.
[7] Nidheesh, P.V., Gandhimathi, R. and Ramesh, S.T., 2013, Degradation of dyes from aqueous solution by Fenton processes: A review, Environ. Sci. Pollut. Res. 20: 2099-2132.
[8] Walling, C., 1975, Fenton’s reagent revisited, Acc. Chem. Res. 8: 125-131.
[9] Tang, W.Z. and Chen, R.Z., 1996, Decolorization kinetics and mechanisms of commercial dyes by H2O2/iron powder system, Chemosphere 32: 947-958.