การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนมือถือระบบแอนดรอยด์ในการจัดการยาต้านไวรัสเอชไอวีด้วยตนเอง

Main Article Content

วีระโชติ ลาภผลอำไพ
พีรยศ ภมรศิลปธรรม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ไวรัสเอชไอวีเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ติดเชื้อไวรัสนี้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่องและนำไปสู่กลุ่มอาการเอดส์ ซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขทั้งประเทศไทยและทั่วโลก โดยผู้ติดเชื้อไวรัสนี้จำเป็นต้องรับประทานยาต้านไวรัสตลอดชีวิต เพื่อลดจำนวนและควบคุมไวรัสในร่างกาย รวมทั้งยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอื่น ๆ ผู้ติดเชื้อต้องมีความร่วมมือในการรักษา โดยกินยาให้ถูกต้อง ตรงเวลา ครบถ้วน และสม่ำเสมอตามแผนการรักษา งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนมือถือ (mobile application) ในระบบแอนดรอยด์สำหรับการจัดการยาด้วยตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สอดคล้องกับมาตรฐานและการนำไปใช้ประโยชน์ ผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมประยุกต์สามารถใช้งานด้านการจัดการยาและสารสนเทศด้านยาตามแผนการดำเนินงานที่กำหนด ผ่านการประเมินคุณภาพของโปรแกรมประยุกต์จากผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศทางสุขภาพ และผลการประเมินการใช้งานโปรแกรมประยุกต์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรมคลินิกเอชไอวีมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.16±0.57) จึงเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่คาดหวังได้ถึงศักยภาพเพื่อการศึกษาวิจัยและทดลองใช้งานในกลุ่มผู้ติดเชื้อไวรัสต่อไป 


คำสำคัญ : โปรแกรมประยุกต์บนมือถือ; ยา; การจัดการยาด้วยตนเอง; เอชไอวี; เอดส์

Article Details

บท
Medical Sciences
Author Biographies

วีระโชติ ลาภผลอำไพ

ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000

พีรยศ ภมรศิลปธรรม

ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000

References

[1] ปวีณา สนธิสมบัติ, 2551, เภสัชบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์, สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย), กรุงเทพฯ, 58-172 น.
[2] สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2557, แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย, แหล่งที่มา : http://www.thaiaidssociety.org/images/PDF/hiv_guideline_2557.pdf, 12 พฤษภาคม 2559.
[3] World Health Organization, 2013, Consolidated guidelines on the use of antiretroviral drugs for treating and preventing HIV infection, Available Source: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/85321/1/9789241505727_eng.pdf, July 1, 2017.
[4] อรรณพ หิรัษดิษฐ์, 2551, Strategies to Improve Adherence to Antiretroviral Therapy, น. 251-272, ใน ปรีชา มนทกานติกุล (บรรณิการ), คู่มือสำหรับเภสัชกร การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์, สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย), กรุงเทพฯ.
[5] นันทลักษณ์ สถาพรนานนท์, 2555, ความไม่ร่วม มือในการใช้ยา (Medication non adherence), ว.ไทยไภษัชยนิพนธ์ (ฉบับการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์) 7: 23-36.
[6] Beer, L., Heffelfinger, J., Frazier, E., Mattson, C., Roter, B., Barash, E., Buskin, S., Rime, T. and Valverde, E., 2012, Use of and adherence to antiretroviral therapy in a large U.S. sample of HIV-infected adults in care, 2007-2008, Open AIDS J. 6: 213-223.
[7] ดวงเนตร ธรรมกุล, ศิริพร ครุฑกาศ, อุษณีย์ เทพวรชัย และเยาวรัตน์ อินทอง, 2553, ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ของผู้ป่วยโรคเอดส์, ว.วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 4: 1-11.
[8] Edgard, G., 2013, A Mobile Application Development Strategy-Finding Model, Available Source: https://www.diva-portal. org/smash/get/diva2:679331/FULLTEXT01.pdf, July 30, 2017.
[9] Liu, C., Zhua, Q., Holroydb, K. A. and Seng, E.K., 2011, Status and trends of mobile-health applications for iOS devices: A developer's perspective, J. Syst. Softw. 84: 2022-2033.
[10] Varshney, U., 2014, Mobile health: Four emerging themes of research, Decis. Support Syst. 66: 20-35.
[11] Lester, R.T, Ritvo, P., Mills, E.J., Kariri, A., Karanja, S., Chung, M.H., Jack, W., Habyarimana, J., Sadatsafavi, M., Najafzadeh, M., Marra, C.A., Estambale, B., Ngugi, E., Ball, T.B., Thabane, L., Gelmon, L.J., Kimani, J., Ackers, M., Plummer, F.A., 2010, Effects of a mobile phone short message service on antiretroviral treatment adherence in Kenya (WelTel Kenya1): A randomised trial, Lancet 376: 1838-1845.
[12] Healthcare Information and Management Systems Society 2012, Selecting a mobile app: Evaluating the usability of medical applications, Available Source: http://s3. amazonaws.com/rdcms-imss/files/produc tion/public/HIMSSguidetoappusabilityv1mHIMSS.pdf, October 23, 2015.
[13] Bailey, S.C., Belter, L.T., Pandit, A.U., Carpenter, D.M., Carlos, E. and Wolf, M.S., 2014, The availability, functionality, and quality of mobile applications supporting medication self-management, J. Am. Med. Inform. Assoc. 21: 542-546.
[14] พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร, 2558, คู่มือเขียนแอพ Android ด้วย Android Studio, บริษัท โปรวิชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 432 น.
[15] ธานินทร์ ศิลป์จารุ, 2551, การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS, เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์, กรุงเทพฯ.
[16] Gamdi, A.A., Albeladi, K.S., AlCattan, R.F., 2014, Clinical decision support system in health care industry success and risk factors, IJCTT 11: 188-192.
[17] Jin, J., Sklar, G.E., Oh, V.M.S., Li, S.C., 2008, Factors affecting therapeutic compliance: A review from the patient’s perspective, Ther. Clin. Risk Manag. 4: 269-286.
[18] สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร, 2555, ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, ว.เทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง 1: 1-21.