แบบจำลองการใช้ที่ดินรอบศูนย์กลางการศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศสีเชิงเลข
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษา เรื่อง “แบบจำลองการใช้ที่ดินรอบศูนย์กลางการศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศสีเชิงเลข” มีวัตถุประสงค์การศึกษา คือ (1) เพื่อสำรวจและจำแนกการใช้ประโยชน์อาคารโดยรอบศูนย์กลางการศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศสีเชิงเลข (2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโดยรอบศูนย์กลางการศึกษา และ (3) เพื่อเสนอแบบจำลองการใช้ที่ดินโดยรอบศูนย์กลางการศึกษา วิธีการศึกษาดำเนินการโดยการสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยอาศัยภาพถ่ายทางอากาศสีเชิงเลขที่บินถ่ายโดยกองทัพอากาศ มาตราส่วน 1 : 4,000 บริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวน 4 ย่าน คือ ย่านนิมมานเหมินทร์ ย่านวัดอุโมงค์ ย่านประตูไผ่ล้อม และย่านชุมชนวัดช่างเคี่ยน จากนั้นสำรวจข้อมูลภาคสนามเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์อาคารและวิเคราะห์รูปแบบการตั้งถิ่นฐานจากข้อมูลภาคสนาม และเสนอแบบจำลองการใช้ที่ดินบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่าการใช้ประโยชน์อาคารสำรวจโดยแบ่งเป็นกิจกรรมการค้าและการบริการ ที่อยู่อาศัยของประชาชนในพื้นที่ ที่อยู่อาศัยสำหรับนักศึกษา ที่อยู่อาศัยสำหรับนักท่องเที่ยว และกิจกรรมอื่น ๆ รูปแบบการใช้ประโยชน์อาคารที่มีกิจกรรมการค้าและบริการ รวมถึงมีความหลากหลายของรูปแบบการใช้ประโยชน์อาคารทุกประเภทในสัดส่วนใกล้เคียงกันมากที่สุด คือ ย่านนิมมานเหมินทร์ และแบบจำลองการใช้ที่ดินโดยรอบศูนย์กลางการศึกษามีจำนวน 6 ย่าน ได้แก่ ย่านที่ 1 เป็นย่านการค้าและบริการ พบบริเวณตอนในใกล้ศูนย์กลางการศึกษาตามสองฟากถนนสายหลัก ย่านที่ 2 เป็นย่านที่อยู่อาศัยของประชาชนทั่วไป มีลักษณะกระจุกตัวทางทิศใต้และทิศเหนืออยู่ถัดออกมาจากย่านการค้าและการบริการและที่อยู่อาศัยของนักศึกษา ย่านที่ 3 ย่านที่อยู่อาศัยของนักท่องเที่ยว พบกระจายทางทิศตะวันออกมีเนื้อที่ไม่มากนัก ย่านที่ 4 ย่านที่อยู่อาศัยของนักศึกษา กระจุกตัวเป็นบริเวณกว้างทางทิศใต้และตะวันออก เป็นย่านที่ได้รับอิทธิพลจากการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ ความสะดวกในการเข้าถึง และเส้นทางคมนาคม ย่านที่ 5 ย่านป่าไม้ พบทางทิศตะวันตกเกิดจากลักษณะภูมิประเทศแบบภูเขาสูง และย่านที่ 6 ย่านอื่น ๆ เป็นย่านที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งใด ๆ พบทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทางทิศใต้ ย่านนี้เป็นย่านที่มีโอกาสถูกแทนที่จากย่านอื่นในอนาคต แบบจำลองดังกล่าวสามรถนำไปใช้ในการวางแผนและการจัดการพื้นที่รอบศูนย์กลางการศึกษาต่อไป
คำสำคัญ : แบบจำลองการใช้ที่ดิน; ศูนย์กลางการศึกษา; ภาพถ่ายทางอากาศสีเชิงเลข; ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
Article Details
References
[2] ปฐวี โชติอนันต์, 2558, รัฐ ธุรกิจ ประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาย่านนิมมานเหมินทร์ จังหวัดเชียงใหม่, ว.รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์ 4(1): 96-120.
[3] สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่, 2560, บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลทั่วไปจังหวัดเชียงใหม่, กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[4] สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 2557, คู่มือการเข้าศึกษาต่อมหาวิทยา ลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[5] Argialas, D.P., Michailidou, S. and Tzotsos, A., 2013, Change detection of buildings in suburban areas from high resolution satellite data developed through object based image analysis, Surv. Rev. 45: 441-450.
[6] Blaschke, T., 2010, Object based image analysis for remote sensing, ISPRS J. Photogramm. Remote Sens. 65: 2-16.
[7] Bouderville, J.R., 1966, Problems of Regional Economic Planning, Edinburgh, Edinburgh University Press, Edinburgh.
[8] Burgess, E.W., 1925, The Growth of the City, In Park, R.E. (Ed.), The City, University of Chicago, Chicago.
[9] Everaerts, J., 2008, The use of unmanned aerial vehicles (UAVS) for remote sensing and mapping, In Jun, C., Jie, J. and Baudoin, A. (Eds.), 21st ISPRS Congress, Beijing.
[10] Fernandez-Manso, O., Quintano, C. and Fernandez-Manso, A., 2009, Combining spectral mixture analysis and object-based classification for fire severity mapping, Investigacion Agraria-Sistemas Y Recursos Forestales 18: 296-313.
[11] Gurtner, A., Greer, D.G., Glassock, R., Mejias, L., Walker, R.A. and Boles, W.W., 2009, Investigation of fish-eye lenses for small-UAV aerial photography, IEEE Trans. Geosci. Remote Sens. 47: 709-721.
[12] Harris, C.D. and Ullman, E.L., 1947, The nature of cities, Ann. Amer. Acad. Polit. Soc. Sci. 242: 7-17.
[13] Hoyt, H., 1939, The Sturcture and Growth of Residential Neighbourhoods in American Cities, Federal Housing Administration, Washington, DC.
[14] Isard, W., 1956, Location and Space-Economy: A General Theory Relating to Inductrail Locations, Market Areas, Land Use, Trade, and Urban Structure, New York, Massachusetts Institute of Technology and John Wiley & Sons, Cambridge.
[15] Jalan, S., 2012, Exploring the potential of object based image analysis for mapping urban land cover, J. Indian Soc. Remote Sen. 40: 507-518.
[16] Lin, A.Y.M., Novo, A., Har-Noy, S., Ricklin, N.D. and Stamatiou, K., 2011, Combining GeoEye-1 satellite remote sensing, UAV aerial imaging, and geophysical surveys in anomaly detection applied to archaeo logy, IEEE J. Selected Topics Appl. Earth Obs. Remote Sens. 4: 870-876.
[17] Loon, P., Heurkens, E. and Bronkhorst, S., 2008, The Urban Decision Room: An Urban Management Instrument, IOS Press BV., Amsterdam.
[18] Perroux, F., 1950, Economic space: Theory and applications, Quart. J. Econ. 64: 90-97.