การตรวจวัดพื้นที่เกิดไฟป่าด้วยช่วงคลื่นเทอร์มอลอินฟราเรดของภาพดาวเทียมแลนด์เซต : กรณีศึกษาอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการหาพื้นที่การเกิดไฟป่าด้วยข้อมูลช่วงคลื่นความร้อน และเสนอแนะแนวทางในการจัดการไฟป่าในพื้นที่ศึกษา โดยใช้ภาพจากดาวเทียม LANDSAT-5 TM และ LANDSAT-8 OLI นำมาปรับแก้พิกัดเชิงเรขาคณิต แล้วคำนวณค่าการแผ่รังสี (radiance) ค่าการส่องสว่างของอุณหภูมิ (brightness temperature) หลังจากนั้นนำค่า brightness temperature และจุดที่เกิดไฟป่าจากส่วนควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มาจัดทำเป็นแผนที่ อีกทั้งทำการลงสำรวจพื้นที่ศึกษาเพื่อเก็บข้อมูล ค่าพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลก ด้วยเครื่องมือ GPS แล้วนำข้อมูลที่ทำการสำรวจภาคสนามมาทำการตรวจสอบความถูกต้องกับข้อมูลจุดที่เกิดไฟป่า ด้วยสถิติ RMSE (root mean square error) ผลการศึกษาพบว่าภาพจากดาวเทียม LANDSAT สามารถวิเคราะห์ค่าอุณหภูมิออกมาได้และสามารถเห็นรายละเอียดของการเกิดไฟเพิ่มเติมนอกเหนือจากจุด hotspot ที่ได้รับมาจากส่วนควบคุมไฟป่า จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าภาพจากดาวเทียม LANDSAT สามารถนำมาใช้ในการศึกษาไฟป่าในประเทศไทยได้ เนื่องจากดาวเทียม LANDSAT เป็นดาวเทียมที่มีความละเอียด 30*30 เมตร ทำให้ทราบพื้นที่เป้าหมายและสามารถวิเคราะห์แนวไฟป่าที่เกิดขึ้นได้จึงช่วยให้สะดวกในการวางแผนการจัดการควบคุมไฟและการวางแผนในการเข้าถึงพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
คำสำคัญ : ไฟป่า; ช่วงคลื่นความร้อน; การสำรวจระยะไกล; จุดความร้อนที่ผิดปกติ
Abstract
This objective of the study is to apply the geo-information technologies to identify the areas of forest fire using thermal band and propose guidelines to management a forest fire in the study area by using satellite images from LANDSAT-5 TM and LANDSAT-8 OLI. They were prepared by geometric correction and then calculated radiance value, brightness temperature. The values of brightness temperature and Hotspot of Forest Fire Control Division National Park, Wildlife and Plant Conservation Department were created to map. Surveying data in the study area was collected with GPS location. Field survey data was proved the accuracy with the hotspot statistics RMSE (Root Mean Square Error). The results showed that the LANDSAT satellite imagery could analyze the temperature and find the others areas of forest fire more than a hotspot that obtained from the forest fire control office. The result of this research shows that the LANDSAT satellite imagery can be used to study forest fires in Thailand. Because the LANDSAT satellite is a resolution of 30*30 m can find the target areas and to analyze the occurred fires and thus help facilitate the planning, management control and planning to reach areas better than MODIS imagery.
Keywords: forest fire; thermal band; remote sensing; hotspot