การใช้ใบไม้และกิ่งไม้หมักเป็นส่วนผสมของขี้เลื่อยไม้ยางพาราในการเพาะเห็ดนางรมภูฏาน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การเพาะเห็ดนางรมภูฏานแบบถุงโดยนำใบไม้และกิ่งไม้ที่ร่วงหล่นเป็นวัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการหมักเป็นส่วนผสมกับขี้เลื่อยไม้ยางพาราในการเพาะเห็ดถุง โดยใช้ส่วนผสมของขี้เลื่อยไม้ยางพาราต่อใบไม้และกิ่งไม้หมักในอัตราส่วนต่างกัน (100 : 0, 75 : 25, 50 : 50, 25 : 75 และ 0 : 100) ผลปรากฏว่าส่วนผสมของ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา : ใบไม้และกิ่งไม้หมัก ในอัตราส่วน 50 : 50 ให้ผลผลิตน้ำหนักดอกเห็ดนางรมภูฐานสูงสุด แต่ไม่มีความแตกต่างจากส่วนผสมอื่น ๆ เมื่อตรวจวัดลักษณะทางสัฐานวิทยาของดอกเห็ดนางรมภูฐานพบว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของก้านชูดอก ความหนาของดอก และความยาวของก้านชูดอกมีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่เส้นผ่านศูนย์กลางของดอกเห็ดนั้นไม่แตกต่างกัน และเมื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการในส่วนของปริมาณโปรตีนปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
คำสำคัญ : เห็ดนางรมภูฐาน; คุณค่าทางโภชนาการ; ผลผลิต
Abstract
Phoenix mushroom cultured by using mixture between para rubber tree sawdust and compost leaves in different ratio (para rubber tree sawdust and compost leaves with ratio – 100 : 0, 75 : 25, 50 : 50, 25 : 75 and 0 : 100). The result showed that para rubber tree sawdust : compost leaves with ratio – 50 : 50 – gave the highest product of fruiting bodies and was not significant different to the other treatments. When examined their morphological of fruiting bodies. They showed that diameter of stalk, thickening of cap and length of stalk were significant different but diameter of cap was not significant different. When analyzed nutrient value in quality of protein on their fruiting bodies. They were not significant different in each treatments
Keywords: Phoenix mushroom; fruiting body; nutrient value