ความหลากชนิดของเห็ดป่าและอิทธิพลของปัจจัยแวดล้อมบางประการต่อการปรากฏของเห็ดป่าในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ศุทธินี ไชยแก้ว
ธารรัตน์ แก้วกระจ่าง
อุทัยวรรณ แสงวณิช

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากชนิดและอิทธิพลของปัจจัยแวดล้อมต่อการปรากฏของเห็ดป่าในสังคมป่าเต็งรังและสังคมป่าดิบแล้ง บริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา แต่ละสังคมพืชได้สำรวจเห็ดในแปลงตัวอย่างถาวรขนาด 90 x 90 เมตร ซึ่งแบ่งเป็นแปลงย่อยขนาด 30 x 90 เมตร จำนวน 3 แปลง นอกจากนี้ได้เก็บข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมในแปลงดังกล่าว ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิดิน ความชื้นดิน การปกคลุมเรือนยอด ค่าความเป็นกรดด่างของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ และปริมาณธาตุอาหาร (C, P, Ca, Mg) โดยวัดและเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ผลการสำรวจพบเห็ดทั้งหมด 76 ชนิด ซึ่งสามารถระบุชื่อชนิด 71 ชนิด และไม่สามารถระบุชื่อ 5 ชนิด เห็ดที่ระบุชื่อชนิดได้จัดอยู่ใน 39 สกุล 22 วงศ์ 11 อันดับ ในจำนวนนี้วงศ์ Russulaceae มีจำนวนชนิดเห็ดมากที่สุด (10 ชนิด) รองลงมา คือ เห็ดในวงศ์ Marasmiaceae (7 ชนิด) ค่าดัชนีความหลากชนิดของเห็ดในป่าเต็งรัง (H’ = 2.67) มีค่ามากกว่าป่าดิบแล้ง (H’ = 2.23) ซึ่งทั้งสองสังคมพืชมีความคล้ายคลึงกันของชนิดเห็ดต่ำ (SI = 11.17) ในสังคมป่าเต็งรังพบว่า Marasmiellus candidus (22.39 %) เป็นเห็ดที่มีความมากมายสูงที่สุด ขณะที่สังคมป่าดิบแล้งพบว่า Dicephalospora rufocornea (41.71 %) เป็นชนิดที่มีค่าความมากมายสูงสุด สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเห็ดที่พบในสังคมป่าดิบแล้งกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมโดยการวิเคราะห์การจัดลำดับชั้นด้วยวิธี canonical correspondence analysis (CCA) แสดงให้เห็นว่าเห็ดที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมแบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มเห็ดที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปกคลุมเรือนยอดและปริมาณฟอสฟอรัสที่มีประโยชน์ (2) กลุ่มเห็ดที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความชื้นในดินเป็นปัจจัยหลัก (3) กลุ่มเห็ดที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกอุณหภูมิดิน อุณหภูมิอากาศ ความเข้มแสง ปริมาณธาตุอาหารแมกนีเซียม แคลเซียม คาร์บอน ปริมาณอินทรียวัตถุ และค่าความเป็นกรด-ด่าง ของดิน และ (4) กลุ่มเห็ดที่สามารถกระจายทั่วไป

Article Details

บท
Biological Sciences
Author Biographies

ศุทธินี ไชยแก้ว

ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ธารรัตน์ แก้วกระจ่าง

ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

อุทัยวรรณ แสงวณิช

ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

References

Hyde, K.D., Bahkali, A.H. and Moslem, M.A., 2010, Fungi an unusual source for cosmetic, Fungal Diver. 43: 1-9.

Tibuhwa, D.D., Muchane, M.N., Masiga, C.W., Mugoya, C. and Muchai, M., 2011, An inventory of macro-fungi and their diversity in the Serengeti-Masai Mara ecosystem, Tanzania and Kenya, Biol. Sci. 6: 399-410.

Hawksworth, D.L. and Lücking, R., 2017, Fungal diversity revisited: 2.2 to 3.8 million species, Microbiolspec. FUNK 52: 1-17.

Kerekes, J.F. and Desjardin, D.E., 2009, A monograph of the genera Crinipellis and Moniliophthora from Southeast Asia including a molecular phylogeny of the nrITS region, Fungal Diver. 37: 101-152.

Sangwanit, U., Suwanarit, P., Payuppanon, A., Leungsaart, J. and Sakolruk, B., 2013, List Biological Assets Mushrooms, Biodiversity-Based Economy Development Office, Bangkok. (in Thai)

Thongbai, B., Hyde, K.D., Chen, J. and Raspe, O., 2016, A new species and four new records of Amanita (Amanitaceae; Basidiomycota) from Northern Thailand, Phytotaxa 286: 211-231.

Chen, J., Zhao, R.L., Parra, L.A., Guelly, A.K., Kesel, A.D., Rapior, S., Hyde, K.D., Chukeati rote, E. and Callac, P., 2015, Agaricus section Brunneopicti: A phylogenetic reconstruction with descriptions of four new taxa, Phytotaxa 192: 145-168.

Suwannarach, N., Kumla, J. and Lumyong, S., 2015, A new whitish truffle, Tuber thailandicum from northern Thailand and its ectomycorrhizal association, Mycol. Prog. 14(83): 1-12.

Jang, S.K. and Hur, T.C., 2011, Relationship between climatic factors and the distribution of higher fungi in Byeonsanbando National Park, Korea, Mycobiology 42: 27-33.

Pinna, S., Gevry, M.F., Cote, M. and Sirois, L., 2011, Factor influencing fructification phenology of edible mushroom in a boreal mixed forest of Eastern Canada, Forest Ecol. Manag. 260: 294-301.

Duengkae, K., 2008, Relationships between Mushroom and Soil in Forest Ecosystems, Phetchabun Province, Research report, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. (in Thai)

Largent, L.D., 1973, How to Identify Mushrooms to Genus I: Macroscopic Features, Mad River Press, Inc., California.

Largent, L.D. and Watling, R., 1977, How to Identify Mushrooms to Genus IV: Key to Families and Genera, Mad River Press, Inc., California.

Pegler, D.N., 1986, Agaric Flora of Sri Lanka, 12th Ed., 104 Schwarzweiß-Tafeln, Royal Botanic Garden, Kew, 519 p.

Bergemann, S.E. and Largent, D.L., 2000, The site specific variables that correlate with the distribution of the Pacific Golden Chanterelle, Cantharellus formosus, Ecol. Manag. 130: 99-107.

Phillips, R., 2006, Mushroom, MacMillan Reference, Milan.

Hustad, V.P., Meiner, S.C. and Methven, A.S., 2011, Terrestrial macrofungi of Illinois Old-Growth Prairie Groves, Am. Midl. Nat. 166: 13-28.

Shanon, C.E. and Weaver, W., 1949, The Mathematical Theory of Communication, University of Illinois Press, Urbana.

Pushpa, H. and Purushothama, K.B., 2012, Biodiversity of mushrooms in and around Bangalore (Karnataka), India, J. Agric. Environ. Sci. 12: 750-759.

Kauseruda, H., Heegaardb, E., Büntgenc, U., Halvorsene, R., Eglic, S., Irletc, B.S., Greilhuberf, I.K., Dämonf, W., Sparksg, T., Nordéna, J., Høilanda, K., Kirkh, P., Semenovi, M., Boddyj, L. and Stensethk, N.C., 2012, Warming-induced shift in European mushroom fruiting phenology, PNAS. 109: 14488-14493.

Kosol, S.T., Kumlung, T., Inyod, P., Thongbai and Archavancom, T., 2005, Species Diversity of Edible Mushroom and Plants at Sakaerat Biosphere Reserve, Thailand Institute of Scientific and Technological Research, Bangkok. (in Thai)