ผลของสูตรอาหาร ชนิดและปริมาณน้ำตาลต่อการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมระยะกลางในสภาพปลอดเชื้อของกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50

Main Article Content

น้ำเพชร พรหมสุวรรณ์
ทัศไนย จารุวัฒนพันธ์
อารยา อาจเจริญ เทียนหอม

บทคัดย่อ

ศึกษาความเข้มข้นของอาหารสูตร MS ชนิดและความเข้มข้นของน้ำตาลที่มีผลต่อการรักษาเชื้อพันธุกรรมระยะกลางของกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 แบ่งเป็น 2 การทดลอง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยการทดลองที่ 1 ประกอบด้วย 2 ทรีตเมนต์ เพาะเลี้ยงยอดบนอาหารสูตร MS และอาหารสูตรดัดแปลง ½MS เป็นเวลา 4 เดือน พบว่าอาหารสูตร MS เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตเฉลี่ย 95 % และอาหารสูตรดัดแปลง ½MS มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตเฉลี่ย 92.5 % จากนั้นฟื้นฟูต้นโดยการเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 5 มล./ล. เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่ากล้วยที่เลี้ยงบนอาหารสูตร MS และ ½MS มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตไม่ต่างกัน คือ 97.3 % จึงเลือก ½MS มาใช้ในการทดลองที่ 2 ประกอบด้วย 6 ทรีตเมนต์ เพาะเลี้ยงยอดบนอาหารสูตรดัดแปลง ½MS ที่เติมน้ำตาลซูโครส 30 (ชุดควบคุม), 60 และ 90 กรัมต่อลิตร น้ำตาลแมนนิทอล 30, 40 และ 50 กรัมต่อลิตร เป็นเวลา 4 เดือน พบว่ากล้วยที่เติมน้ำตาลซูโครสมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต 90-92.5 % ส่วนกล้วยที่เติมน้ำตาลแมนนิทอลมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต 0-40 % จากนั้นฟื้นฟูต้นเช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 พบว่าเมื่อเลี้ยงยอดบนอาหาร ½MS ที่เติมน้ำตาลแมนนิทอลทุกชนิดไม่สามารถรอดชีวิตหลังจากฟื้นฟูต้น ในขณะที่ยอดที่เลี้ยงบนอาหารที่เติมน้ำตาลซูโครสมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต 94-97 % โดยกล้วยที่เลี้ยงบนอาหารสูตรดัดแปลง ½MS ที่เติมน้ำตาลซูโครส 90 กรัมต่อลิตร มีค่าเฉลี่ยเส้นรอบวงของยอดสูงที่สุด (3.66 ซม.) และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญกับทรีตเมนต์อื่น

Article Details

บท
Biological Sciences
Author Biographies

น้ำเพชร พรหมสุวรรณ์

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ทัศไนย จารุวัฒนพันธ์

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

อารยา อาจเจริญ เทียนหอม

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

References

Seubsman, S., Yottapornpinit, P., Changsingha, P. and Pheangsup, S., 2012, Thai Wisdom and The Culture Significance of Bananas, Sukhothaithammathirat Open University, Nonthaburi, 383 p. (in Thai)

Srisaart, A. and Ausuwan C., 2013, Cultivation Guide of Banana, Naka Inter Media Company, Samut Sakhon, 144 p. (in Thai)

Silayoi, B., 2015, Banana, Department of Horticulture, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok, 512 p. (in Thai)

Boonkorkaew, P., 2011, Thai Banana

Database, Biodiversity-Based Economy Development Office (Public Organization), Bangkok, 304 p. (in Thai)

Wamaedeesa, R. and Dueramae, S., 2011, Multiplication of Kluai Hin (Musa sapientum Linn.) by tissue culture, Princess of Naradhiwas Univ. J. 3(3): 47-59. (in Thai)

Jiwsattanasakun, V. and Charoenwattana, P., 2014, In vitro conservation of bat flower (Tacca chantrieri Andre) through minimal growth, Khon Kaen Agric. J. 3: 562-566. (in Thai)

Udomprasert, N., 2015, Plant Stress Physiology, Chulalongkorn University, Bangkok, 237 p. (in Thai)

Murashige, T. and Skoog, F., 1962, A revised medium for rapid growth and bioassay with tobacco tissue culture, Plant Physiol. 15: 473-497.

Distabanjong, K., Distabanjong, C. and Ruangviset, B., 2005, In vitro propagation and conservation of Rhynchostylis gigantea (Lindl.) Ridl., pp. 571-578, Proceeding of 48th Kasetsart University Conference: Plant, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Sherwood, L., 2010, Human Physiology, From Cell to System, 7th Ed., Nelson Education, Ltd., Belmont, 711 p.

Feungchan, S., 2013, Principles of Horticulture, Klungnana Vitthaya, Khon Kaen, 1029 p. (in Thai)

Saurabh, B. and Sharma, K., 2015, Microenvironmentation in Micropropagation, pp. 345-360, In Bhatia, S. (Ed.), Modern Application of Plant Biotechnology in Pharmaceutical Science, Elsevier, Inc., Ltd., Amsterdam.

Normah, M.N., Chin, H.F. and Barbara M.R., 2013, Conservation of Tropical Plant Species, Springer, New York, 538 p.

Suriyapananont, S., 1995, Plant Structure, Department of Botany, Faculty of Science, Kasetsart University, Bangkok 135 p. (in Thai)