การศึกษาระดับทองแดง แมกนีเซียม ซีลิเนียม และสังกะสีในผู้สูงอายุชาวไทยที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรมและระดับน้ำตาลในเลือดสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
แร่ธาตุทองแดง แมกนีเซียม ซีลิเนียม และสังกะสี มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย ภาวะอ้วนลงพุง (metabolic syndrome) เกิดจากสาเหตุที่เมแทบอลิซึมที่เปลี่ยนแปลงไป อันสืบเนื่องมาจากแร่ธาตุเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับทองแดง แมกนีเซียม ซีลิเนียม สังกะสี ในผู้สูงอายุชาวไทย ที่มีภาวะอ้วนลงพุงร่วมกับการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง วิธีการ : ตรวจหาระดับทองแดง แมกนีเซียม ซีลีเนียม และสังกะสี ในประชาชนที่เข้ารับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลสิรินธร ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 รูปแบบงานวิจัย คือ case-control โดยคัดเลือกกลุ่มควบคุม A (วัยกลางคน ระดับน้ำตาลปกติ) กลุ่มควบคุม B (ผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะอ้วนลงพุง ระดับน้ำตาลปกติ) และกลุ่มเป้าหมาย C (ผู้สูงอายุที่มีภาวะอ้วนลงพุงและมีน้ำตาลในเลือดสูง) ผลการวิจัย : กลุ่มเป้าหมาย C มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับทองแดง : 0.127±0.029 mg/dL แมกนีเซียม : 2.002±0.294 mg/dL ซีลีเนียม : 73.176±46.819 ng/mL สังกะสี : 0.097±0.057 mg/dL มีระดับค่อนข้างต่ำกว่ากลุ่มควบคุม A และ B เมื่อวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างแมกนีเซียมและซีลีเนียมกับภาวะอ้วนลงพุงร่วมกับมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สรุป : ระดับแมกนีเซียมและซีลีเนียมที่ลดต่ำลง สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซึมที่ลดลงในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากภาวะเมแทบอลิกซินโดรมร่วมกับระดับน้ำตาลในเลือดสูง ดังนั้นผู้สูงอายุควรได้รับความรู้และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ในผู้สูงอายุ
คำสำคัญ : ทองแดง; แมกนีเซียม; ซีลีเนียม; สังกะสี; เมแทบอลิกซินโดรม
Article Details
References
[2] สำนักงานวิจัยนวัตกรรมและพันธมิตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2559, บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านผู้สูงอายุและสังคมสูงอายุ (พ.ศ. 2556-2559), แหล่งที่มา : https://www.kmutt.ac.th/rippc/nrct59/34s10.pdf, 12 เมษายน 2559.
[3] คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุ, 2547, สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย, แหล่งที่มา : https://wvvw.m-society.go.th/document/edoc/edoc_890.pdf, 12 เมษายน 2559.
[4] Chen, Y., Saari, J.T. and Kang, Y.J., 1994, Weak antioxidant defenses make the heart a target for damage in copper-deficient rats, Free Radic. Biol. Med. 17: 529-536.
[5] Guerrero-Romero, F. and Rodriguez-Moran, M., 2002, Low serum magnesium levels and metabolic syndrome, Acta Diabetol. 39: 209-213.
[6] Kao, W.H., Folsom, A.R., Nieto, F.J., Mo, J.P., Watson, R.L. and Brancati, F.L., 1999, Serum and dietary magnesium and the risk for type 2 diabetes mellitus: The atherosclerosis risk in communities study, Arch Intern Med. 159: 2151-2159.
[7] Kryukov, G.V., Castellano, S., Novoselov, S.V., Lobanov, A.V., Zehtab, O., Guigó, R. and Gladyshev, V.N., 2003, Characterization of mammalian selenoproteomes, Science 300: 1439-1443.
[8] Salonen, J.T., Alfthan, G., Huttunen, J.K. and Pikkarainen, J., 1982, Association between cardiovascular death and myocardial infarction and serum selenium in a matched-pair longitudinal study, Lancet 24: 175-179.
[9] Jansen, J., Karges, W. and Rink, L., 2009, Zinc and diabetes-clinical links and molecular mechanisms, J. Nutr. Biochem. 20: 399-417.
[10] Heynemen, C.A., 1996, Zinc deficiency and taste disorders, Ann. Pharmacother. 30: 186-187.
[11] Chen, M.D., Lin, P.Y., Cheng, V. and Lin, W.H., 1996, Zinc supplementation aggravates body fat accumulation in genetically obese mice and dietary-obese mice, Biol. Trace Elem. Res. 52: 125-132.
[12] Blonstein-Fujji, A., DiSilvestro, R., Frid, D., Katz, C. and Malarkey, W., 1997, Short term zinc plasma 5'-nucleosidase activities, insulin-like growth factor 1 concentrations and lipoprotein oxidation rates in vitro, Am. J. Clin. Nutr. 66: 639-642.
[13] Simon, S.F. and Taylor, C.G., 2001, Dietary zinc supplementation attenuates hyper glycemia in db/db mice, Exp. Biol. Med. (Maywood) 226: 43-51.
[14] Paul, L., 2009, A comprehensive definition for metabolic syndrome, Dis. Model Mech. 2: 231-237.
[15] Pongchaiyakul, C., Nguyen, T.V., Wanothayaroj, E., Krusun, N. and Klungboonkrong, V., 2007, Prevalence of metabolic syndrome and its relationship to weight in Thai population, J. Med. Assoc. Thai 90: 459-467.
[16] สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, 2558, แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง เวชปฏิบัติทั่วไป, แหล่งที่มา : https://www.thaihy pertension.org/files/GL%20HT%202015.pdf, 17 พฤษภาคม 2561.
[17] Arnaud, J., de Lorgeril, M., Akbaraly, T., Salen, P., Arnout, J., Cappuccio, F.P., van Dongen, M.C.J.M., Donati, M.B., Krogh, V., Siani, A., Iacoviello, L. and on behalf of the EEuropean Collaborative Group of the IMMIDIET Project, 2012, Gender differences in copper, zinc and selenium status in diabetic-free metabolic syndrome European population - the IMMIDIET study, Nutr. Metab. Cardiovasc. Dis. 22: 517-524.
[18] Rotter, I., Kosik-Bogacka, D., Dołęgowska, B., Safranow, K., Lubkowska, A. and Laszczyńska, M., 2015, Relationship between the concentrations of heavy metals and bioelements in aging men with metabolic syndrome, Int. J. Environ. Res. Public Health 12: 3944-3961.
[19] Asayama, K., Kooy, N.W. and Burr, I.M., 1986, Effect of vitamin E deficiency and selenium deficiency on insulin secretory reserve and free radical scavenging systems in islets: Decrease of islet manganosuperoxide dismutase, J. Lab. Clin. Med. 107: 459-464.
[20] Siddiqui, K., Bawazeer, N. and Joy, S.S., 2014, Variation in macro and trace elements in progression of type 2 diabetes, Sci. World J. 2014: 1-9.
[21] Naka, T., Kaneto, H., Katakami, N., Matsuoka, T., Harada, A., Yamasaki, Y., Matsuhisa. M. and Shimomura, I., 2013, Association of serum copper levels and glycemic control in patients with type 2 diabetes, Endocr. J. 60: 393-396.
[22] Ferdousi, S. and Mia, A.R., 2012, Serum levels of copper and zinc in newly diagnosed type-2 diabetic subjects Mymensingh, Med. J. 21: 475-478.
[23] Obeid, O., Elfakhani, M., Hlais, S., Iskandar, M., Batal, M., Mouneimne, Y., Adra, N. and Hwalla, N., 2008, Plasma copper, zinc, and selenium levels and correlates with metabolic syndrome components of lebanese adults, Biol. Trace Elem. Res. 123: 58-65.