การประเมินหาพื้นที่เปราะบางชายฝั่งโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

กัทลี คุรุกุล
กาญจนา นาคะภากร

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการประยุกต์วิธีการประเมินความเปราะบางชายฝั่งทะเล (coastal vulnerability assessment) เพื่อศึกษาความเปราะบางของพื้นที่ศึกษาต่อการถูกกัดเซาะชายฝั่ง คือ พื้นที่ชายฝั่งของจังหวัดสมุทรสงคราม มีความยาวตลอดแนวชายฝั่งประมาณ 23 กิโลเมตร โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับการประเมินความเปราะบางชายฝั่งของจังหวัดสมุทรสงคราม ได้แบ่งตัวแปรความเปราะบางออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) ปัจจัยการเปิดรับต่อสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ตัวแปรความสูงคลื่นนัยสำคัญ ตัวแปรน้ำขึ้นน้ำลง และตัวแปรการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และ (2) ปัจจัยความอ่อนไหว ได้แก่ ตัวแปรความลาดชัน ตัวแปรอัตราการกัดเซาะชายฝั่ง ตัวแปรความหนาแน่นของประชากร ตัวแปรความหนาแน่นของหลังคาเรือน ตัวแปรการใช้ประโยชน์ที่ดิน และตัวแปรมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ผลการศึกษาพบว่าแนวชายฝั่งของพื้นที่ศึกษามีความเปราะบาง 4 ระดับ ตั้งแต่ความเปราะบางต่ำมากถึงความเปราะบางสูง พื้นที่ที่มีความเปราะบางต่ำมาก มีขนาดพื้นที่ 4.42 ตารางกิโลเมตร (2,763 ไร่) พบในพื้นที่ตำบลคลองโคน และพื้นที่ที่มีความเปราะบางสูง มีขนาดพื้นที่ 0.56 ตารางกิโลเมตร (350 ไร่) พบในพื้นที่ตำบลบางจะเกร็งและตำบลบางแก้ว สำหรับตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความเปราะบาง ได้แก่ น้ำขึ้นน้ำลง การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ความลาดชัน ความหนาแน่นของประชากร และการใช้ประโยชน์ที่ดิน

คำสำคัญ : ความเปราะบางชายฝั่ง; ภูมิสารสนเทศ; สมุทรสงคราม; ปัจจัยการเปิดรับต่อสภาพภูมิอากาศ; ปัจจัยความอ่อนไหว

Abstract

This study used the coastal vulnerability assessment to examine the vulnerability coastal area of Samut Songkram province (23 km). By applying geo-information technology to organize the variables affecting coastal changes was categorized variables into 2 groups: (1) climate exposure variables consists of mean significant wave height, mean tide range ,and sea level rise; and (2) coastal sensitivity variables consists of slope, shoreline erosion rate, population density, household density, land use, and coastal protection measure. The result was integrated into the model of coastal vulnerability index. The result was found four classes from very low to high vulnerability. The very low coastal vulnerability area was 4.42 km2 (2,763 Rai) located in the Khlong Khon district. The high coastal vulnerability area was 0.56 km2 (350 Rai) located in the Bang Chakreng and the Bang Keao districts. The variables that affected vulnerability including mean tide range, sea level rise, slope, population density, and land use.

Keywords: coastal vulnerability; geo-information; Samut Songkram; climate exposure variable; coastal sensitivity variable

Article Details

Section
Physical Sciences