ความชุกของการติดหนอนพยาธิและโปรโตซัวในผู้ป่วย ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติในปี พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2556

Main Article Content

พลากร พุทธรักษ์
กฤษฎา ศิริสภาภรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

การติดหนอนพยาธิและโปรโตซัวถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขของคนไทย การศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective study) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความชุกของการติดหนอนพยาธิและโปรโตซัวในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจอุจจาระด้วยวิธี formalin-ethyl acetate concentration technique (FECT) และ/หรือ simple smear ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 จำนวน 6,542 ราย เพศชายจำนวน 3,090 ราย เพศหญิง 3,452 ราย พบว่าความชุกของการติดหนอนพยาธิและโปรโตซัวมีความสัมพันธ์กับเพศและอายุ การติดเชื้อในเพศชายพบมากกว่าเพศหญิง (p<0.05) ความชุกของการติดหนอนพยาธิ พยาธิสตรองจีลอยด์ (Strongyloides stercoralis) พยาธิตัวตืด (Taenia spp.) พยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) สูงสุด 3 อันดับแรก ร้อยละ 1.25, 0.37 และ 0.15 ตามลำดับ โดยพบการติดเชื้อสูงสุดในช่วงอายุ 41-50 ปี สำหรับการติดโปรโตซัว ได้แก่ Blastocystic hominis, Entamoeba coli, Entamoeba histolytica และ Endolimax nana ความชุกของการติดเชื้อเท่ากันคือร้อยละ 0.02 พบมากในกลุ่มช่วงอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี สรุปว่าการติดหนอนพยาธิและโปรโตซัวยังนับว่าเป็นปัญหาสำคัญด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มที่มารับบริการในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติและชุมชนเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ซึ่งหน่วยงานที่ให้ความรู้ด้านการติดหนอนพยาธิและโปรโตรซัวควรมีแผนการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัย เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายและการติดเชื้อซ้ำแก่ผู้มารับบริการและประชาชนทั่วไป

คำสำคัญ : พยาธิตัวตืด; พยาธิใบไม้ตับ; พยาธิสตรองจีลอยด์

 

Abstract

Infections of helminthes and protozoan to represent a public health problem in Thailand. This retrospective study aimed to analysis the prevalence of helminthes and protozoan infections in patients who attended at Thammasat University Hospital, Pathum Tani province during January 2011 to December 2013. The 6,452 stool samples were collected and examined for parasitic infections with formaline-ethyl acetate concentration technique (FECT) and/or simple direct smear. The stool samples were from 3,090 male and 3,452 female. The results showed that helminthic and protozoan infections rate are associated with gender and age which presented high helminthic infections rate in male with the age between 41 to 50 (p<0.05). The helminthic infection found the top three highest composed of Strongyloides stercoralis, Taenia spp., and Opisthorchis viverrini with the prevalence of 1.25, 0.37 and 0.15 %, respectively. For the protozoan infection, we found that Blastocystic hominis, Entamoeba coli, Entamoeba histolytica and Endolimax nana were the most abundant with the prevalence of 0.02 %, equally. The age less than or equal 10 years presented high protozoan infections rate. In conclusion, these study show that the helminthes and protozoan infections are a problem in public health. The study suggests that we anticipate that our information will advantage to inspective infectious unit of hospital and public health care authority of Pathum Thani province to prevent and control parasitic diseases. Moreover, these data may also increase health concerning and awareness in involving population.

Keywords: Opisthorchis viverrini; Strongyloides stercoralis; Taenia spp.

Article Details

Section
Medical Sciences