คุณภาพของน้ำไผ่

Main Article Content

พีรนาฏ คิดดี
ทิพย์วดี ทองเครือ
ศุภลักษณ์ รอดคืน
อุษา อ้นทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำไผ่ด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ และเปรียบเทียบคุณภาพน้ำไผ่กับค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาลเพื่อการบริโภค มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวง และมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท โดยการเก็บตัวอย่างน้ำไผ่จากไผ่ 4 ชนิด คือ ไผ่ตง ไผ่พรหมรอก ไผ่กิมซุ่ง และไผ่งาช้าง ชนิดละ 4 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่าสี กลิ่น ความขุ่น ความเป็นกรด-ด่าง ความกระด้างทั้งหมด คลอไรด์ ไนเตรท ฟลูออไรด์ เหล็ก ทองแดง สังกะสี สารหนู และแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มของน้ำไผ่ทั้ง 4 ชนิด ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทั้ง 3 ประเภท ขณะที่ปริมาณสารทั้งหมดและปริมาณสารทั้งหมดที่ละลายได้ของน้ำไผ่ทั้ง 4 ชนิด มีค่าสูงเกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทประมาณ 3 เท่า และมีค่าสูงเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาลเพื่อการบริโภคประมาณ 2 เท่า ตามลำดับ ค่าแมงกานีสของน้ำไผ่ทั้ง 4 ชนิด มีค่าสูงเกินค่ามาตรฐานทั้ง 3 ประเภท ค่าตะกั่วของน้ำไผ่ทั้ง 4 ชนิด มีค่าสูงเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวง และพบอีโคไลในน้ำไผ่ทั้ง 4 ชนิด ซึ่งคุณภาพของน้ำไผ่อาจขึ้นอยู่กับดิน สภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่ปลูกต้นไผ่ และการเก็บรักษา

Article Details

บท
Biological Sciences
Author Biographies

พีรนาฏ คิดดี

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 93110

ทิพย์วดี ทองเครือ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 93110

ศุภลักษณ์ รอดคืน

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 93110

อุษา อ้นทอง

สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 93110

References

[1] Suwanwith, S., Bamboo Water, Traditional Medicine, Available Sources: https://www.gotoknow.org/posts/855606, December 6, 2015. (in Thai)
[2] Songklatoday, Water from Bamboo can Detoxify Toxins and Relieve Diabetes, Available Sources: https://www.rspg.cmru.ac.th/activity.php?activity=3, December 8, 2015. (in Thai)
[3] Lertsuwanpisan, P., 2006, The analysis of Talaekaew’s underground water quality and packaged drinking water, Rajabhat J. Sci. Human. Soc. Sci. 7(1-2): 26-36. (in Thai)
[4] Sirisingh, K., 2001, Chemistry of Water Wastewater and Analysis, 3rd Ed., Chandrakasem Rajabhat Institute, Bangkok, 370 p. (in Thai)
[5] Seemork, K. and Chaiwong, S., 2014, The application of health education base on health belief model for behavior changing to prevent the fluoride excess in drinking water in Chun district, Phayao province, Naresuan Phayao J. 7(1): 51-64. (in Thai)
[6] Jamjang, K., 2006, Quality analysis of piped water in Kamphangphet Rajabhat University, Golden Teak Human. Soc. Sci. J. 12(1): 85-92. (in Thai)
[7] Supawong, S. and Wachirawongsakorn, P., 2011, Surface water quality in Pibulsongkram Rajabhat University (Talay Kaew), Phitsanulok, Rajabhat J. Sci. Human. Soc. Sci. 12(1): 72-85. (in Thai)
[8] Nimrat, S., Suechamnongkitchakarn, N., Supannapan, K. and Vuthiphandchai, V., 2015, Assessment of physical, pH and microbiological qualities of bottled drinking water produced in Burirum province, Thailand, RMUTP Res. J. 9(2): 32-43. (in Thai)