การเจริญเติบโตและคุณภาพเนื้อของปลาช่อนทะเลที่เลี้ยงด้วยอาหาร ที่เพิ่มไขมันและลดโปรตีน และอาหารที่เพิ่มคาร์โบไฮเดรตและลดไขมัน

Main Article Content

พิเชต พลายเพชร
กมลรัตน์ ยงเจริญ

บทคัดย่อ

ศึกษาการเจริญเติบโตและคุณภาพเนื้อของปลาช่อนทะเลที่เลี้ยงด้วยอาหารที่เพิ่มไขมันและลดโปรตีน และอาหารที่เพิ่มคาร์โบไฮเดรตและลดไขมัน อาหารทดสอบสูตรที่ 1-4 มีโปรตีน/ไขมัน/คาร์โบไฮเดรตเท่ากับ 40%/6%/31% (สูตรควบคุม), 36%/10%/33%,  36%/6%/36% และ 36%/4%/38% ตามลำดับ เลี้ยงปลาช่อนทะเลขนาดเริ่มต้น 35 กรัม ในกระชังขนาด 3x3x2.5 เมตร บริเวณอ่าวศรีราชา จังหวัดชลบุรี อัตราปล่อย 25 ตัวต่อกระชัง และให้อาหารแบบกินจนอิ่มวันละครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ 1 มีการเจริญเติบโตและมีอัตราแลกเนื้อดีกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ 3 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ 2 (p>0.05) ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ 2 มีประสิทธิภาพการใช้โปรตีนและการสะสมโปรตีนในเนื้อดีกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารทุกสูตรมีค่า Condition factor ร้อยละของเนื้อและอวัยวะอื่นๆ ดัชนีตับและดัชนีอวัยวะภายใน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ปริมาณโปรตีนในเนื้อของปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ 1, 2 และ 4 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่มากกว่าเนื้อของปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปริมาณไขมันในเนื้อของปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ 1 และ 3 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่มีค่ามากกว่าเนื้อของปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ 2 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการศึกษานี้จะเห็นได้ว่าสูตรอาหารเลี้ยงปลาช่อนทะเลขนาด 35-800 กรัม สามารถลดโปรตีนจาก 40% เหลือ 36% คิดเป็นอัตราการลดลงเท่ากับ 10% และเพิ่มไขมันจาก 6% เป็น 10% คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเท่ากับ 66.7%

Article Details

บท
Biological Sciences

References

Liao, I.C., Huang, T.S., Tsai, W.S., Hsueh, C.M., Chang, S.L. and Leaño, E.M., 2004, Cobia culture in Taiwan: current status and problems, Aquaculture. 237: 155-165.

Merican, Z., 2008, Cobia in idyllic central Vietnam, Aqua Culture Asia Pacific. 4(6): 25-26.

Nhu, V.C., Nguyen, H.Q., Le, T.L., Tran, M.T., Sorgeloos, P., Dierckens, K., Reinertsen, H., Kjørsvik, E. and Svennevig, N., 2011, Cobia Rachycentron canadum aquaculture in Vietnam: Recent developments and prospects, Aquaculture. 315: 20-25.

Chou, R.L., Her, B.Y., Su, M.S., Hwang, G., Wu, Y.H. and Chen, H.Y., 2004, Substituting fish meal with soybean meal in diets of juvenile cobia Rachycentron canadum, Aquaculture. 229: 325-333.

Mock, T.S., Francis, D.S., Jago, M.K., Glencross, B.D., Smullen, R.P., Keast, R.S.J. and Turchini, G.M., 2019, The impact of dietary protein: lipid ratio on growth performance, fatty acid metabolism, product quality and waste output in Atlantic salmon (Salmo salar), Aquaculture. 501: 191-201.

Li, X.F., Liu, W.B., Jiang, Y.Y., Zhu, H. and Ge, X.P., 2010, Effects of dietary protein and lipid levels in practical diets on growth performance and body composition of blunt snout bream (Megalobrama amblycephala) fingerlings, Aquaculture: 303: 65-70.

AOAC, 2016, Official Methods of Analysis of AOAC International. 20th Ed., Association of Official Analytical Chemists, Maryland, USA, 3172 p.

Duangsawasdi, M. and Somsiri, J., 1985, Water Quality and Analysis Method for Fisheries Research, National Inland Fisheries Institute, Department of Fisheries, Bangkok. (in Thai)

Nash, R.D.M., Valencia, A.H. and Geffen, A.J., 2006, The origin of Fulton’s condition factor-setting the record straight, Fisheries. 31(5): 236-238.

FAO, 1987, The Nutrition and Feeding of Farmed Fish and Shrimp - A Training Manual, Available Source: https://www.fao.org/3/ab470e/AB470E00.htm, Oct 23, 2023.

Boonyaratpalin, M., Suraneiranat, P. and Tunpibal, T., 1998, Replacement of fishmeal with various types of soybean products in the diets for the Asian seabass, Lates calcarifer, Aquaculture. 161: 67-78.

Department of Fisheries, 2018, Criteria for Consideration on Registering Marine Carnivorous Fish Feed, Available Source: http://www4.fisheries.go.th/local/file-document/20161129160413_file.pdf, Sep 25, 2023. (in Thai)

Craig, S.R., Schwarz, M.H. and McLean, E., 2006, Juvenile cobia (Rachycentron canadum) can utilize a wide range of protein and lipid levels without impacts on production characteristics, Aquaculture. 261(1): 384-391.

Chueapohak, W., 2000. Aquatic Animal Nutrition and Feeding Aquatic Animal, 2nd Ed., Kasetsart University Press, Kasetsart University, Bangkok, Thailand, 255 p. (in Thai)

Yuru, Z., Ronghua, L., Chaobin, Q. and Guoxing, N., 2020, Precision nutritional regulation and aquaculture, Aquac. Rep. 18: 100496.

Zhao, H., Cao, J., Chen, X., Wang, G., Hu, J. and Chen, B., 2020, Effects of dietary lipid-to-carbohydrate ratio on growth and carbohydrate metabolism in juvenile cobia (Rachycentron canadum), Anim. Nutr. 6(1): 80-84.

Taj, S., Irm, M., Jin, M., Yuan, Y., Andriamialinirina, H.J.T. and Zhou, Q., 2020, Effects of dietary carbohydrate to lipid ratios on growth performance, muscle fatty acid composition, and intermediary metabolism in juvenile black seabream (Acanthopagrus schlegelii), Front. Physiol. 11: 507.