สัณฐานวิทยา ความมีชีวิต และการงอกของเรณูพืชดอก 15 ชนิด

Main Article Content

กรณ กรภัทรชัยกุล
ไซหนับ ยู่โซะ
ทิพวรรณ คงอินทร์
รูซีลา สะลูโว๊ะ

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัณฐานวิทยา ความมีชีวิต และการงอกของเรณูพืชดอก 15 ชนิด คือ แพงพวย [Catharanthus roseus (L.) G.Don] บานบุรี (Allamanda cathartica L.) พุดพิชญา (Wringhtia antidysenterica R.Br.) หิรัญญิการ์ (Beaumontia grandiflora Wall.) พุดเศรษฐีสยาม (Tabernaemontana sananho L.) ดาวกระจาย (Cosmos sulphureus Cav.) ตีนตุ๊กแก (Tridax procumbens L.) ดาวเรือง (Tagetes erecta L.) บานชื่น (Zinnia violacea Cav.) ชบา (Hibiscus rosa-sinensis L.) แก้ว [Murraya paniculata (L.) Jack.] เข็มแดง (Ixora coccinea L.) พุดตะแคง (Brunfelsia americana L.) เฟื่องฟ้า (Bougainvillea glabra Choisy.) และย่าหยา [Asystasia gangetica (L.) T. Anders.] ผลการทดลองพบว่าเรณูมี 2 สี คือ เหลืองและเทา ผิวเรียบและขรุขระ รูปร่างกลม กลมรี ทรงสามเหลี่ยม แท่งปลายมนและมีขนาดตั้งแต่ 20.0-87.5 µm ทดสอบความมีชีวิตของเรณูด้วยการย้อมสีอะซีโตคาร์มีน (5 %) พบว่าพืชที่เรณูมีเปอร์เซ็นต์ความมีชีวิตสูงสุด คือ เฟื่องฟ้า (98.3 %) และต่ำที่สุด คือ ดาวกระจาย (16.5 %) มีพืชเพียง 5 ชนิด เท่านั้น ที่เรณูงอกในสารละลายน้ำตาลซูโครส โดยที่พุดเศรษฐีสยามมีอัตรางอกสูงสุด (83.4 %) ในขณะที่เข็มแดงมีอัตราการงอกต่ำสุด (23.0 %) ทั้งนี้เรณูของพืชทั้ง 5 ชนิด มีเปอร์เซ็นต์ความมีชีวิตไม่สัมพันธ์กับเปอร์เซ็นต์การงอก 

คำสำคัญ : สัณฐานวิทยา; ความมีชีวิต; การงอก; เรณู

 

Abstract

This research aims to study morphology, viability and germination of the pollen in 15 flowering plants, including to Catharanthus roseus (L.) G.Don, Allamanda cathartica L., Wringhtia antidysenterica R.Br., Beaumontia grandiflora Wall., Tabernaemontana sananho L., Cosmos sulphureus Cav., Tridax procumbens L., Tagetes erecta L., Zinnia violacea Cav., Hibiscus rosasinensis L., Murraya paniculata (L.) Jack., Ixora coccinea L., Brunfelsia americana L., Bougainvillea glabra Choisy. and Asystasia gangetica (L.) T. Anders. The results showed that colors, surfaces, and shapes of pollen were cyan and yellow; smooth and rough; and globular, oval and triangle, respectively. Pollen sizes were in the range of 20.0-87.5 µm. Testing on the viability using 5 % acetocarmine solution, the maximum percentage of pollen viability was found in Bougainvillea glabra Choisy. (98.3 %) and the lowest one was found in Cosmos sulphureus Cav. (16.5 %). There were five species of plants that the pollens germinated in sucrose solution. Tabernaemontana sananho L. had the highest pollen germination (83.4 %) whereas Ixora coccinea L. showed the lowest pollen germination (23.0 %). There was no correlation between pollen viability and germination of these 15 plant species. 

Keywords: morphology; viability; germination; pollen

Article Details

Section
Biological Sciences