การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกสตัลท์กับแคปท์ช่า : การศึกษาด้านความง่ายต่อผู้ใช้

Main Article Content

สุทธิเกียรติ มีลาภ
ณัฐธนนท์ หงส์วริทธิ์ธร

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เสนอแคปท์ช่าแบบรูปภาพแบบใหม่ที่ไม่ใช้ฐานข้อมูลและใช้ทฤษฎีเกสตัลท์เป็นหนึ่งในจิตวิทยาการรับรู้ของมนุษย์ เรียกแคปท์ช่านี้ว่าแคปท์ช่าเรขาคณิตแบบเกสตัลท์ที่ช่วยลดปัญหาด้านการใช้ฐานข้อมูลของแคปท์ช่าแบบรูปภาพในปัจจุบัน และเป็นการเสนอแนวทางใหม่ในการใช้จิตวิทยาการรับรู้ของมนุษย์มาใช้พัฒนาแคปท์ช่าให้มีความง่ายกับมนุษย์อันเป็นแนวโน้มของการพัฒนาแคปท์ช่ารูปภาพในปัจจุบัน การทดสอบของแคปท์ช่านี้จะสร้างรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐานแบบสุ่มที่มีสีเหมือนพื้นหลังคือเป็นสีดำ และสร้างกลุ่มรูปทรง 5 รูปมาประกอบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นรูปทรงเรขาคณิตสีดำได้ ในการทดสอบให้ผู้ใช้มองรูปทรงเรขาคณิตสีดำว่าเป็นกี่เหลี่ยม มนุษย์สามารถรับรู้ภาพได้ถึงแม้ว่าภาพนั้นจะไม่สมบูรณ์เนื่องจากคุ้นเคยด้วยประสบการณ์ งานวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพด้านความง่ายกับผู้ใช้ของแคปท์ช่าเรขาคณิตแบบเกสตัลท์ในด้านเวลาที่ใช้ อัตราการผ่านพิสูจน์ตัวตน และความพึงพอใจของผู้ใช้ โดยเปรียบเทียบกับ reCAPTCHA Ironclad CAPTCHA และ ShapeCAPTCHA ผลการทดลองพบว่าระบบแคปท์ช่าเรขาคณิตแบบเกสตัลท์มีอัตราการผ่านพิสูจน์ตัวตนและความพึงพอใจมากกว่าแคปท์ช่าทั้งสามแบบที่ใช้เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% แต่หน่วยทดลองใช้เวลามากกว่า Ironclad CAPTCHA กับ ShapeCAPTCHA ผลการทดลองในงานวิจัยนี้เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าแนวคิดในการพัฒนา แคปท์ช่าแบบรูปภาพด้วยทฤษฎีเกสตัลท์ทำให้แคปท์ช่ามีความง่ายกับมนุษย์จริง 

คำสำคัญ : CAPTCHA; completely automatic public turing test to tell computer and human apart; gestalt; security; authentication; human recognition; user interface

Article Details

Section
Engineering and Architecture