ผลการสำรวจชี้บ่งอันตรายและวิเคราะห์ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์

Main Article Content

พรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์

Abstract

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเป็นสิ่งสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรในห้องปฏิบัติการ สิ่งแวดล้อม และชุมชนได้ โดยเฉพาะห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งจัดเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นบุคลากรซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในสถานที่เหล่านี้ควรมีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอันตรายและลดความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ประจำวัน รวมทั้งสามารถป้องกันอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น สิ่งแวดล้อมและชุมชนด้วย ผลงานวิจัยชิ้นนี้จึงดำเนินการสำรวจบ่งชี้อันตรายและวิเคราะห์ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการ  ทั้งด้านกายภาพ สารเคมี สารชีวภาพ อุปกรณ์ป้องกันตนเองส่วนบุคคล ระบบการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งระบบการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ และด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการ โดยใช้วิธีการทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เรียกว่าวิธีการ checklist โดยทำการสำรวจในห้องปฏิบัติการสำหรับจัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ของหน่วยงานสถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ โดยผลคะแนนจากการสำรวจระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการพบว่าระดับความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานน้อยที่สุด 3 ลำดับสุดท้าย ได้แก่ การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของบุคลากรในห้องปฏิบัติการ การจัดการระบบการกำจัดของเสียจากห้องปฏิบัติการ และการบริหารระบบจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีคะแนนร้อยละ 10.7, 25.6 และ 33.3 ตามลำดับ ซึ่งจัดเป็นลำดับความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการสำหรับการเรียนการสอนของสถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิกที่ควรหามาตรการในการป้องกันและหาแนวทางการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน นอกจากนั้นยังพบว่าบุคลากรของห้องปฏิบัติการต้องสัมผัสสารเคมีอันตรายหลากหลายชนิดทั้งสารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง สารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สารก่อมะเร็ง รวมทั้งสารชีวภาพต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้  โดยสารเคมีที่มีมากที่สุดในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ สารเคมีทั่วไปซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมมีจำนวนร้อยละ 37.6 รองลงมา ได้แก่ สารก่อการระคายเคืองพบว่ามีจำนวนร้อยละ 19.8 และสารก่อมะเร็งพบว่ามีจำนวนร้อยละ 11.8 เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบว่าปริมาณของเสียที่มีมากที่สุดคือของเสียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่วนเชื้อจุลชีพที่มีการใช้งานในห้องปฏิบัติการสถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิกนั้น ส่วนใหญ่เป็นเชื้อจุลชีพกลุ่มเสี่ยงระดับที่ 2 ซึ่งเชื้อ จุลชีพดังกล่าวจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถก่อโรคในคนได้ ยังมีวิธีการรักษาป้องกัน โดยเชื้อจุลชีพดังกล่าวจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการและวิธีการปฏิบัติงานทางจุลชีววิทยาพิเศษที่เหมาะสมสำหรับห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับที่ 2 แต่พบว่าห้องปฏิบัติการสถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิกมีเพียงการบริหารจัดการและวิธีการปฏิบัติงานทางจุลชีววิทยาพื้นฐานที่เหมาะสมสำหรับห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับที่ 1 เท่านั้น ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ 

คำสำคัญ : การชี้บ่งอันตราย; วิเคราะห์ความเสี่ยง; ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

 

Abstract

Laboratory safety management, especially in medical science laboratory, is important to impact on laboratory personnel health, environmental population and community safety. Therefore, personnel who work in these places should have the better understanding in risk prevention from daily work. The purposes of this research were to survey the hazard and risk analysis in medical science laboratory in physical, chemical, biological agent, personal protective equipment, emergency support system, waste management and laboratory personal knowledge. The data were analyzed by using checklist hazard identification in teaching medical science laboratory in Department of Preclinical Science, Faculty of Medicine, Thammasat University. The findings indicated that the personnel knowledge, waste management and safety management were high risk that should be taken immediately to prevent the risks and create the guidelines for laboratory safety. It was also found that laboratory personnel exposed to various types of hazard chemicals agents such as irritation chemicals, carcinogens and biological agents. Moreover, the most of waste in this laboratory were the hazardous to health and environment waste. The assessment of biosafety found that the microorganisms were no.2 risk group microorganisms that were classified as cause disease organism in human. These microorganisms were required special procedures for microbiological laboratory biosafety level 2, but there were basic procedures in preclinical laboratory that supported for microbiological laboratory biosafety level 1 only. These results were used to develop the laboratory safety management in the future. 

Keywords: hazard identification; risk analysis; medical science laboratory

Article Details

Section
Medical Sciences