การศึกษาการเจริญเติบโตของไผ่ที่เกิดจากเมล็ด

Main Article Content

ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก
สากล ลำดวนหอม

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของไผ่ที่เกิดจากเมล็ด ซึ่งปลูกในฟาร์มภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาความสามารถในการงอกของเมล็ดไผ่รวกและไผ่ป่า พบว่าเปอร์เซ็นต์ความงอกของไผ่รวกและไผ่ป่าเป็น 86 และ 60.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ศึกษาการเจริญเติบโตของไผ่ที่เกิดจากเมล็ดจำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ ไผ่รวก ไผ่ป่า ไผ่บงใหญ่ ไผ่ซางนวล ไผ่มันหมู และไผ่ข้าวหลาม ที่ได้จากการสำรวจไผ่ออกดอกในพื้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี และวางแผนการทดลองแบบ CRD โดยแบ่งการทดลองเป็น 6 ทรีทเมนต์ จำนวน 4 ซ้ำ ซ้ำละ 5 ต้น เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของไผ่ทุกเดือน เป็นเวลา 6 เดือน ในด้านความสูง พบว่าไผ่มันหมูมีความสูงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ 197.35 เซนติเมตร จำนวนหน่อใหม่ ในไผ่รวกมีจำนวนหน่อใหม่เฉลี่ยมากที่สุด คือ 6.75 หน่อ เส้นผ่านศูนย์กลางของลำ พบว่าเส้นผ่านศูนย์กลางลำไผ่ทุกพันธุ์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 

คำสำคัญ : ไผ่; การเจริญเติบโต

 

Abstract

Study on characteristic of bamboo seedlings which were cultured at agricultural farm in Thammasat University, Rangsit Centre. This experiment was divided into two parts. First experiment was studied the seed germination abilities of T. siamensis Gamble and B. bambos. It was found that their abilities of seed germination were 86 and 60.5 %, respectively. The second experiment was studied the growth of 6 young bamboo plantlets which were germinated from seeds of 6 varieties. (Thyrsostachys siamensis Gamble, Bambus bambos (L.) Voss., Dendrocalamus brandisii Kurz, Dendrocalamus membranceus Munro, Dendrocalamus copelandii (Gamble) N.H.Xia & Stapleton. Kew Bull. and Cephalostachyum pergracile Munro) which come from Kanchanaburi Province. This experiment was arranged in CRD (complete randommized design) with 6 treatments and 4 replications and each replications with 5 plants. Data were recorded every month for 6 months in plant height, stem diameter and the number of new sprouts. It was found that their growth in plant height of D. copelendii was the highest at 197.35 cm. In case of the number of sprouts, T. siamensis had the highest amount of sprouts, at 6.75 sprouts per culm. Finally, it was found that the average stem diameters in all varieties types of bamboo are increased. 

Keywords: bamboo; growth 

Article Details

Section
Biological Sciences