ปริมาณสารทุติยภูมิของยอดหัวข้าวเย็น (Dioscorea birmanica Prain & Burkill) ในสภาพปลอดเชื้อที่ระยะเวลาเพาะเลี้ยงต่างกัน

Main Article Content

รัชนีวรรณ จิระพงศ์พัฒนา
เยาวพา จิระเกียรติกุล
ภาณุมาศ ฤทธิไชย
ศรีโสภา เรืองหนู
อรุณพร อิฐรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

หัวข้าวเย็น (Dioscorea birmanica Prain & Burkill) เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมใช้ส่วนของเหง้าร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคน้ำเหลืองเสีย และโรคเอดส์ สารสำคัญที่พบคือ 3-0-α-L-rhamnopyranosyl (1->2)-β-D glucopyranoside หรือ prosapogenin A of dioscin (DBS1) ปริมาณสารทุติยภูมิของพืชในสภาพปลอดเชื้ออาจเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาในการเพาะเลี้ยง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาเพาะเลี้ยงต่อปริมาณสารทุติยภูมิและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH ของยอดหัวข้าวเย็นในสภาพปลอดเชื้อ โดยเพาะเลี้ยงข้อบนอาหารสูตร MS (Murashige and Skoog) ที่เติม BA (6-benzyladenine) ความเข้มข้น 8.87 µM IAA (3- indole-acetic acid) ความเข้มข้น 0.57 µM และผงถ่าน 0.01 % เป็นเวลานาน 4-12 สัปดาห์ พบว่าปริมาณสาร DBS1 ของยอดที่เพาะเลี้ยงเป็นเวลานาน 8-12 สัปดาห์ (0.72±0.16 ถึง 0.91±0.11 % w/w) สูงกว่ายอดเพาะเลี้ยงเป็นเวลานาน 4-6 สัปดาห์ ส่วนปริมาณสารประกอบฟีนอลิคทั้งหมด (54.17±0.05 ถึง 68.14±0.03 mg GAE/g dry extract) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH (EC50 39.89±2.14 ถึง 49.97±9.23 µg/ml) ไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่างระยะเวลาเพาะเลี้ยง 

คำสำคัญ : DBS1; หัวข้าวเย็น; สารประกอบฟีนอลิคทั้งหมด; ระยะเวลาเพาะเลี้ยง; สารทุติยภูมิ

 

Abstract

Hua-Khao-Yen (Dioscorea birmanica Prain & Burkill) is a medicinal plant which its rhizome has been used with other medicinal plant species for the treatments of cancers, lymphatic diseases and AIDS. The important secondary metabolite of this plant is 3-0-α-L-rhamnopyranosyl(1->2)-β-D glucopyranoside or prosapogenin A of dioscin (DBS1). Secondary metabolite of micropropagated shoots may change during culture in vitro. Therefore, the objective of this study was to investigate effects of culture periods on secondary metabolite content and DPPH radical scavenging activity of in vitro Hua-Khao-Yen shoots. Single node segments were cultured on MS (Murashige and Skoog) medium supplemented with 8.87 µM BA (6-benzyladenine), 0.57 µM IAA (3-indoleacetic acid) and 0.01 % activated charcoal for 4-12 weeks. The results showed that the regenerated shoots cultured for 8-12 weeks exhibited the higher contents of DBS1 (0.72±0.16 to 0.91±0.11 % w/w) than those cultured for 4-6 weeks.  The total phenolic contents (54.17±0.05 to 68.14±0.03 mg GAE/g dry extract) and DPPH radical scavenging activity (EC50 39.89±2.14 to 49.97±9.23 µg/ml) were not significantly different among the treatments. 

Keywords: DBS1; Dioscorea birmanica; total phenolic; cultured period; secondary metabolite

Article Details

Section
Biological Sciences