อุปสรรคในการเผยแพร่นวัตกรรมด้านการก่อสร้างในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
นวัตกรรมด้านการก่อสร้างมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่อุตสาหกรรมการก่อสร้างถูกมองว่ามีนวัตกรรมเกิดขึ้นน้อย เนื่องด้วยงานก่อสร้างมีลักษณะเฉพาะตัว มีความซับซ้อน ใช้ทีมงานหลากหลายและทำงานร่วมกันเพียงชั่วคราว หรือบางครั้งนวัตกรรมได้รับการพัฒนาขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ทำให้บุคคลทั่วไปไม่รู้จักนวัตกรรมนั้นและไม่เกิดการนำไปใช้งาน งานวิจัยนี้ต้องการระบุอุปสรรคสำคัญที่เกิดขึ้นและขั้นตอนที่จำเป็นในกระบวนการเผยแพร่นวัตกรรมด้านการก่อสร้าง โดยใช้วิธีการศึกษาจากกรณีศึกษาซึ่งเป็นผู้ประกอบการในประเทศไทย ที่สามารถเผยแพร่นวัตกรรมเป็นผลสำเร็จ การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยมีกรอบคำถาม 5 ด้าน คือ ด้านการศึกษาตลาด ด้านงบประมาณและช่องทางในการประชาสัมพันธ์ ด้านผู้ใช้ระยะเริ่มแรก ด้านช่องทางการจำหน่าย และด้านบริการหลังการขาย แล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อคัดแยกกลุ่มอุปสรรคที่เกิดขึ้นในแต่ละกรณีศึกษา สุดท้ายจึงนำผลจากกรณีศึกษาทั้งหมดมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อระบุอุปสรรคที่พบร่วมกัน ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าอุปสรรคสำคัญของการเผยแพร่นวัตกรรมด้านการก่อสร้าง ได้แก่ การที่สินค้านวัตกรรมมักมีราคาสูงกว่าสินค้าที่มีขายทั่วไป ผู้ใช้งานไม่รู้จักสินค้านวัตกรรม การขาดความเชื่อมั่นในสินค้านวัตกรรม และการที่ผู้ใช้นวัตกรรมไม่เห็นผลตอบแทนที่ชัดเจนจากการตระหนักถึงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทำให้การเผยแพร่นวัตกรรมด้านการก่อสร้างเป็นไปอย่างเชื่องช้า นอกจากนี้หากผู้ประกอบการมีงบประชาสัมพันธ์ไม่เพียงพอหรือบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จะทำให้การเผยแพร่ประสบความสำเร็จได้ยากขึ้นอีกด้วย
คำสำคัญ : การเผยแพร่นวัตกรรม; อุปสรรคในการเผยแพร่นวัตกรรม; อุตสาหกรรมการก่อสร้าง; สถาปัตยกรรม
Abstract
Innovations in construction are important for stimulating the countries' economic growth. However, few innovations seem to emerge from the construction industry because the natures of construction are unique, complex, and based on temporary collaboration among professionals. Sometimes, innovations in construction have been developed but could not be implemented commercially. This research aims to find barriers to the diffusion of construction innovations and to gather the necessary strategies in the diffusion of construction innovations through case studies using selected companies that have successfully commercialized construction innovations in Thailand. The data were collected through in-depth interviews based on 5 groups of questions: market readiness, budget availability and channels for public relations, composition of early adopters, sales channels, and after-sales services. Content analysis technique was then used to find barriers in each case study. Finally, all case studies were compared to identify common barriers shared among the cases. The result shows that the major barriers preventing successful diffusion of innovations in the construction industry in Thailand are the higher price of innovative products than the conventional technologies; the lack of recognition of the newly launched products; the lack of confidence in innovative, yet unfamiliar, products; and the minimal concern for environmental problems and energy saving. In addition, companies with inadequate marketing budget allocated for the innovations or inefficient customer relationship management are less likely to succeed in diffusing their innovations in construction.
Keywords: diffusion of innovations; barriers to diffusion of innovations; construction industry; architecture