แรงขับเคลื่อนในการประยุกต์ใช้การจัดการโลจิสติกส์สีเขียวสำหรับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาถึงระดับความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในด้านการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปัจจัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในการนำการจัดการโลจิสติกส์สีเขียวมาประยุกต์ใช้ จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.836 กับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยจำนวน 214 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทั้งสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) พบว่าผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจเฉลี่ยในระดับปานกลาง โดยผู้ประกอบการประเภทอาหารมีความรู้ความเข้าใจสูงสุด ขณะที่ผู้ประกอบการประเภทเครื่องดื่มมีความรู้ความเข้าใจน้อยที่สุด และผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบ สามารถจัดกลุ่มปัจจัยที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในการประยุกต์การจัดการโลจิสติกส์สีเขียวมาใช้ในองค์กรได้ 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านทัศนคติขององค์กรต่อการจัดการโลจิสติกส์สีเขียว ปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ
คำสำคัญ : แรงขับเคลื่อน; การจัดการโลจิสติกส์สีเขียว; ผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
Abstract
This research aims to investigate the level of knowledge and understanding of one tumbon one product (OTOP) entrepreneurs towards green/environmental management, and drivers towards the implementation of green logistics in OTOP entrepreneurs. Structured questionnaire which had reliability equals to 0.836 was employed to gather information from 214 respondents. The data obtained were then analyzed using both descriptive and inferential statistics i.e. percentage, mean, standard deviation and factor analysis. The analysis revealed that the level of knowledge and understanding of OTOP entrepreneurs towards green management was in the middle level. Food entrepreneurs had the highest score, whereas beverage entrepreneurs had the lowest score. The results from factor analysis can classify drivers into three factors i.e. organizational attitude towards green logistics, social and environmental responsibility, and laws and regulation.
Keywords: driver; green logistics; one tumbon one product (OTOP) entrepreneur