การสะสมโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในดินตะกอนบริเวณพื้นที่เพาะเลี้ยงหอยแครง (Anadara granosa) ในอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฏร์ธานี

Main Article Content

ทองทิพย์ วงษ์ศิลป์
จินตนา สและน้อย
กังสดาลย์ บุญปราบ
Takashi Yoshikawa
Yuki Okamoto
Satoshi Ishikawa
Kazuya Watanabe

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตที่สะสมในดินตะกอน บริเวณฟาร์มเลี้ยงหอยแครง ครอบคลุมพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายนและสิงหาคม พ.ศ. 2556) และฤดูร้อน (เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557) ทั้งนี้เพื่อแสดงอิทธิพลของฤดูกาลต่อการสะสมสารอาหารในดินตะกอน โดยสุ่มตัวอย่างดินตะกอนจาก 6 สถานี และวิเคราะห์ในระดับความลึก 0-5 และ 5-10 ซม. ผลการศึกษาพบว่าการสะสมโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในดินตะกอน มีค่าแตกต่างกันทั้งในฤดูกาลและระดับความลึก ทางฝั่งตะวันออกซึ่งมีลักษณะเป็นดินโคลนปนทรายจะมีการสะสมของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตมากกว่าทางฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นดินทราย ปริมาณโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในดินตะกอนจะพบในช่วงฤดูฝนสูงกว่าฤดูร้อน โดยมีปริมาณการสะสมในชั้นดินแพร่กระจายแตกต่างกัน ปริมาณโปรตีนสูงสุดในดินตะกอนช่วงฤดูฝน (เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556) และฤดูร้อน (มีนาคม พ.ศ. 2557) มีค่าเท่ากับ 0.0162+0.0001 มิลลิกรัม/กรัม ที่ระดับ 0-5 ซม. และ 0.0073+0.0001 มิลลิกรัม/กรัม ที่ระดับ 5-10 ซม. ตามลำดับ ส่วนปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงสุดในดินตะกอนช่วงฤดูฝน (เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556) และฤดูร้อน (เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557) มีค่าเท่ากับ 0.516+0.010 มิลลิกรัม/กรัม ที่ระดับ 5-10 ซม. และ 0.323+0.007 มิลลิกรัม/กรัม ที่ระดับ 0-5 ซม. ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบในระดับความลึกพบว่าในสถานีส่วนใหญ่จะมีปริมาณโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสะสมอยู่ในชั้นดินที่ระดับ 5-10 ซม. มากกว่าระดับ 0-5 ซม. ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าฤดูกาลมีผลต่อการสะสมโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในดินตะกอนบริเวณพื้นที่เลี้ยงหอยแครงของอ่าวบ้านดอน 

คำสำคัญ : โปรตีน; คาร์โบไฮเดรต; ดินตะกอน; อ่าวบ้านดอน; หอยแครง

 

Abstract

This research was aimed to study the protein and carbohydrate accumulation in the sediment of blood cockle farming area covering the east and the west coast of Bandon Bay, Surat Thani Province, in rainy season (June-August 2013) and summer (March 2014). To find the influence of the season on accumulation of nutrients in the sediment, the samples were collected from six stations in two depths; 0-5 and 5-10 cm. The results showed the different content of protein and carbohydrate accumulation in the sediment in both season and depth. The crumbly clay sediment in the east coast presented the high amount of protein and carbohydrate contents than the sandy soil in the west coast. In addition, it was vary distribution in depths and the high amounts of both were found in wet season than summer. The highest protein content during the rainy season (August 2013) and summer (March 2014) were 0.0162+0.0001 mg/g at 0-5 cm and 0.0073+0.0001 mg/g at 5-10 cm depth, respectively. While the highest carbohydrate contents were 0.516+0.010 mg/g at 5-10 cm and 0.323+0.007 mg/g at 0-5 cm depth in rainy season and summer, respectively. Protein and carbohydrate contents mostly appeared in the depth of 5-10 cm more than 0-5 cm. The results indicated that season affected the accumulation of nutrient contents in the sediments of blood cockle farm at Bandon Bay. 

Keywords: protein; carbohydrate; sediment; Bandon Bay; blood cockle (Anadara granosa)

Article Details

Section
Biological Sciences