การประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบรวมฟีนอล และนิโคตินของสมุนไพรไทย 15 ชนิด

Main Article Content

ชานนท์ นัยจิตร
อนุรักษ์ เชื้อมั่ง

Abstract

บทคัดย่อ

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งปอดและโรคร้ายแรงหลายชนิด ซึ่งอาการถอนนิโคตินเนื่องจากการลดลงของนิโคตินในร่างกายเป็นปัจจัยหลักทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบรวมฟีนอลและนิโคตินจากสารสกัดสมุนไพรไทย 15 ชนิด โดยการสกัดสมุนไพรด้วยการหมักกับ 95 % เอทานอล จากนั้นนำสารสกัดไปศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay สารประกอบรวมฟีนอลด้วยวิธี Folin-Ciocalteu colorimetric method และนิโคตินด้วยวิธี HPLC พบว่าชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดมากกว่า L-ascorbic acid (IC50  เท่ากับ 7.25±0.85 µg/ml) ขณะที่สารสกัดหยาบมะแว้งต้นมีสารประกอบรวมฟีนอลสูงสุด คือ 259.44±9.58 mg GAE/g DW นอกจากนี้สารสกัดหยาบหญ้าดอกขาวมีปริมาณนิโคตินสูงสุด คือ 1.154  mg/g รองลงมาคือ มะแว้งต้น (0.305 mg/g) มะแว้งเครือ (0.192 mg/g) ชาดำ (0.077 mg/g) ชาเขียว (0.039 mg/g) และพริกไทย (0.013 mg/g) ตามลำดับ การวิจัยนี้พบว่ามีสมุนไพร 6 ชนิด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีสารประกอบรวมฟีนอลสูง และนิโคติน ได้แก่ หญ้าดอกขาว มะแว้งต้น มะแว้งเครือ ชาดำ ชาเขียว และพริกไทย การศึกษานี้เป็นข้อมูลสนับสนุนสมุนไพรไทยว่าสามารถช่วยลดอาการถอนนิโคติน 

คำสำคัญ : สมุนไพร; นิโคติน; ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

 

Abstract

Smoking is a major cause of lung cancer and several deadly diseases. The nicotine withdrawal symptoms due to decline of nicotine in the body are the main factor for unsuccessful quit smoking. The purpose of this study was to evaluate antioxidant activity, total phenolic contents and nicotine contents of 15 Thai herbal extracts. The extraction method was maceration with 95% ethanol. The antioxidant activities of all extracts were determined by DPPH radical scavenging. The total phenolic content was estimated by the Folin-Ciocalteu colorimetric method and nicotine concentration was measured by using HPLC. The green tea extract exhibited the highest antioxidant activity, when compared to L-ascorbic acid (IC50 = 7.25±0.85 µg/ml), while Solanum indicum L. extract showed the highest value of total phenolic contents (259.44±9.58 mg GAE/g DW). Moreover, The Vernonia cinerea L. extract showed the highest concentration of nicotine (1.154 mg/g), followed by Solanum trilobatum L. (0.305 mg/g), Solanum indicum L. (0.192 mg/g), black tea (0.077 mg/g), green tea (0.039 mg/g), and pepper (0.013 mg/g), respectively. In conclusion, V. cinerea L., S. trilobatum L., S. indicum L., black tea, green tea and pepper present their antioxidant activities, a rich of total phenolic, and nicotine contents, which are possible using for reducing nicotine withdrawal. 

Keywords: Thai herb; nicotine; antioxidant activity

Article Details

Section
Medical Sciences