แบบจำลองทางสถิติเชิงพื้นที่สำหรับการคาดคะเนสมบัติพื้นฐานของดิน ณ บ้านโป่งลึกบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ณัฐพล จันทร์แก้ว
อาภากร ทองวงสา

Abstract

บทคัดย่อ

แบบจำลองทางสถิติเชิงพื้นที่สำหรับการคาดคะเนสมบัติพื้นฐานของดินบ้านโป่งลึกบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบใช้แบบจำลองทางสถิติและเปรียบเทียบแผนที่ด้วยทฤษฎีการประมาณค่าแบบ inverse distance weighted (IDW) และ radial basis function (RBF) วิเคราะห์แผนที่ธาตุอาหารหลักของพื้นที่ศึกษาและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแผนที่สมบัติพื้นฐานของดินกับภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat-8 (operational land imager, OLI) โดยเก็บตัวอย่างดิน 21 จุด มาตรวจวิเคราะห์ธาตุไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) และความเป็นกรด-ด่าง (pH) โดยใช้ข้อมูล 14 จุด ในการประมาณค่า และใช้ข้อมูล 7 จุด ในการประเมินและตรวจสอบความถูกต้อง ผลการศึกษาพบว่าทฤษฎีการประมาณค่าแบบ IDW เหมาะสำหรับใช้ประมาณค่าไนโตรเจน (N) เนื่องจากให้ค่าความคลาดเคลื่อนน้อยกว่าทฤษฎีการประมาณค่าแบบ RBF ส่วนทฤษฎีการประมาณค่าแบบ RBF เหมาะสำหรับใช้ประมาณค่า P, K และ pH เนื่องจากให้ค่าความคลาดเคลื่อนน้อยกว่าทฤษฎีการประมาณค่าแบบ IDW เมื่อนำผลจากการประมาณค่า N, P และ K ที่ได้จากทฤษฎีการประมาณค่าที่เหมาะสมมาวิเคราะห์แผนที่ธาตุอาหารหลักของพื้นที่ศึกษา พบว่าแผนที่ธาตุอาหารหลักของพื้นที่ศึกษาสามารถใช้ในการวางแผนปรับปรุงดิน เลือกชนิดพืช และการใส่ปุ๋ยได้ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรใช้ทรัพยากรที่ดินอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดและช่วยลดต้นทุนในการทำเกษตรกรรมได้เป็นอย่างดี เมื่อนำผลจากการประมาณค่าธาตุอาหารหลัก N, P, K และ pH มาศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแผนที่สมบัติพื้นฐานของดินกับภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat-8 OLI โดยใช้ดัชนีต่าง ๆ คือ ดัชนีความเป็นดิน (bare soil index, BI) ดัชนีความเป็นออกไซด์เหล็ก (iron oxide index, IOI) ดัชนีความเป็นดินเหนียว (clay minerals index, CMI) และดัชนีความชื้นในดิน (moisture stress index, MSI) พบว่าปริมาณ N, P, K และ pH ในดินมีความสัมพันธ์กับดัชนีต่าง ๆ ที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 OLI ซึ่งสามารถใช้ดัชนีต่าง ๆ นี้ ตรวจหาปริมาณ N, P, K และ pH ในดินของพื้นที่ใกล้เคียงที่มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายคลึงกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์หาปริมาณ N, P, K และ pH ซึ่งช่วยลดระยะเวลาและประหยัดงบประมาณในการตรวจวิเคราะห์สมบัติของดิน 

คำสำคัญ : แบบจำลองทางสถิติเชิงพื้นที่; สมบัติพื้นฐานของดิน

 

Abstract

The spatial statistical models for assessing soil properties of Phong Luek Bang Kloy village, Kaeng Krachan district, Petchaburi province. The purposes are to test the spatial statistical models for studying and comparing the soil properties to Landsat-8 OLI and analyzing nutrient map by the theoretical estimation: inverse distance weighted (IDW) and radial basis function (RBF). Sampling 21 areas determine N, P, K and pH: 14 areas for estimation and 7 areas for verifications. The study show that IDW method is more accurate for the estimation of N than the RBF method but RBF method is more accurate for the estimation of P, K, and pH than IDW methods. The appropriate N, P, K and pH values could be used for creating the macronutrients map in the study areas which support agriculturists to plan and decide about plant type’s selection and soil fertilization. This plan can maximize the agriculturist benefits and reduce the cost as well. Could N, P, K and pH values can be used for studying relationship between soil properties map and Landsat-8 OLI by using bare soil index (BI), iron oxide index (IOI), clay minerals index (CMI) and moisture stress index (MSI). The results showed that N, P, K and pH values were significantly related to various indexes from satellite images Landsat-8 OLI. These indexes could evaluate N, P, K and pH values in the similar topography without the soil sampling analysis to reducing time and budget.    

Keywords: spatial statistical model; soil property

Article Details

Section
Physical Sciences