ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนในกับปริมาณฝนบริเวณภาคตะวันออกของประเทศไทยในภาวะเอนโซ

Main Article Content

ปริญ หล่อพิทยากร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนในกับปริมาณฝนบริเวณภาคตะวันออกของประเทศไทยในปีภาวะเอนโซ โดยใช้ข้อมูลอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนในจากดาวเทียมระบบ SeaWiFs and Modis และข้อมูลปริมาณฝนบริเวณภาคตะวันออกของประเทศไทยจากกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงภาวะเอนโซ ซึ่งไม่รวมช่วงที่เกิดพายุหมุนเขตร้อน ผลการศึกษาพบว่าในช่วงภาวะเอลนีโญรุนแรง (มิถุนายน พ.ศ. 2545 - มีนาคม พ.ศ. 2546 : เฟส 1) ค่า R2 มีค่าอยู่ในช่วง 0.1844-0.4991 กล่าวคือ อิทธิพลของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนในมีผลต่อปริมาณฝนในภาคตะวันออกมีค่าอยู่ในช่วง 18.44-49.91 % และอิทธิพลของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนในมีผลต่อปริมาณฝนสูงสุดอยู่ที่บริเวณตราดประมาณ 49.91 % อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในภาวะเอลนีโญที่อ่อน (มิถุนายน พ.ศ. 2552 - เมษายน พ.ศ. 2553 : เฟส 2) ค่า R2 มีค่าอยู่ในช่วง 0.2891-0.7056  กล่าวคือ อิทธิพลของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนในมีผลต่อปริมาณฝนบริเวณภาคตะวันออกมีค่าอยู่ในช่วง 28.91-70.56 % อิทธิพลของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนในมีผลต่อปริมาณฝนอยู่ในบริเวณสระแก้ว ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา ซึ่งมีค่าประมาณ 54.04, 43.01 % ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 70.56 % ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ตามลำดับ ช่วงภาวะปกติเฟส 1 (มิถุนายน พ.ศ. 2546 - มิถุนายน พ.ศ. 2547) และเฟส 2 (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - ธันวาคม พ.ศ. 2556) ค่า R2 มีค่าอยู่ในช่วง 0.0090-0.0790 และ 0.0505-0.3579 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทุกสถานี ตามลำดับ ในปีภาวะปกติอิทธิพลของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนในไม่มีผลต่อปริมาณฝนในบริเวณภาคตะวันออก ในปีภาวะลานีญาที่อ่อน (กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - มิถุนายน พ.ศ. 2551 : เฟส 1) ค่า R2 มีค่าอยู่ในช่วง อยู่ในช่วง 0.6288-0.8883 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกสถานี กล่าวคือ อิทธิพลของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนในมีผลต่อปริมาณฝนในบริเวณภาคตะวันออกอยู่ในช่วง 62.88-88.83 % ในภาวะลานีญาที่รุนแรง (มิถุนายน พ.ศ. 2553 - พฤษภาคม พ.ศ. 2554 : เฟส 2) ค่า R2 มีค่าอยู่ในช่วง 0.3582-0.8035 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และที่ระดับ 0.01 กล่าวคือ อิทธิพลของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนในมีผลต่อปริมาณฝนในบริเวณภาคตะวันออกอยู่ในช่วง 35.82-80.35 % 

คำสำคัญ : อุณหภูมิผิวน้ำทะเล; อ่าวไทยตอนใน; ปริมาณฝน; ภาคตะวันออกของประเทศไทย

 

Abstract

The aim of this research was to investigate the relationship between sea surface temperature (SST) in the inner Gulf of Thailand (GoT) and rainfall in Eastern Thailand during ENSO periods. SST data from Sea-WiFs and MODIS sensors and rainfall data from Meteorological Department during ENSO period by excluding data during thunder storm were used in the analysis. The result showed that during strong El-Nino (June 2002 - March 2003: phase I) R2 was in the range of 0.1844-0.4991, that mean SST in the inner GOT affected rainfall in Eastern Thailand in range of 18.44-49.91 %. SST in the inner GoT was related to the highest rainfall in Trad province of about 49.91 % at 0.05 significant level. During weak El-Nino (June 2009 - April 2010: phase II) R2 was in range of 0.2891-0.7056, that mean SST in the inner GOT affected rainfall in Eastern Thailand in range of 28.91-70.56 %. SST in the inner GOT was related to rainfall in Sra Kaew, Prachin Buri and Chachoengsao of about 54.04, 43.01 % at 0.05 significant level and 70.56 % at 0.01 significant level, respectively. During normal period in phase I (June 2003 - June 2004) and phase II (February 2013 - December 2013) R2 was in range of 0.0090-0.0790 and 0.0505-0.3579 respectively, but insignificant for all station. The results suggested that SST in the inner GoT don’t affected on rainfall in Eastern Thailand. In weak La Nina period (July 2007 - June 2008: phase I) R2 was in range of 0.6288-0.8883 at 0.01 significant level for all station that mean SST in the inner GoT affected rainfall in Eastern Thailand in range of 62.88-88.83 %. In strong La Nina period (June 2010 - May 2011: phase II) R2 was in range of 0.3582-0.8035 at 0.05 significant level and 0.01 significant level that mean SST in the inner GoT affected rainfall in Eastern Thailand in range of 35.82-80.35 %.    

Keywords: sea surface temperature; inner Gulf of Thailand; rainfall; Eastern Thailand

Article Details

Section
Physical Sciences