ผลของการขาดน้ำต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวหอม 6 พันธุ์

Main Article Content

อรประภา อนุกูลประเสริฐ

Abstract

บทคัดย่อ

ศึกษาประสิทธิภาพการทนแล้งและผลกระทบของการขาดน้ำต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าวหอม 6 พันธุ์ โดยวางแผนการทดลองแบบ factorial in CRD ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ พันธุ์ข้าวหอม จำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ หอมคลองหลวง 1 ขาวดอกมะลิ 105 กข 33 หอมสุพรรณบุรี กข 15 และปทุมธานี 1 และอัตราการให้น้ำที่แตกต่างกัน 5 อัตรา ได้แก่ การให้น้ำ 100 (การให้น้ำปกติ) 50, 25 12.5 และ 0 % (งดให้น้ำ) ในช่วงระยะต้นกล้าและระยะแตกกอของข้าว จากผลการวิจัยแม้ว่าไม่พบความแตกต่างที่เด่นชัดในด้านความสูงต้นและจำนวนต้นต่อกอของข้าวหอมแต่ละพันธุ์เมื่อได้รับอัตราการให้น้ำที่แตกต่างกัน แต่พบว่าอัตราการให้น้ำที่ลดลงส่งผลให้องค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ เปอร์เซ็นต์เมล็ดดีต่อรวงมีค่าลดลง ในขณะที่เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบมีค่ามากขึ้น โดยเมื่อเปรียบเทียบปริมาณผลผลิตที่ระดับการให้น้ำปกติและการงดให้น้ำเพื่อประเมินความทนแล้งของข้าวหอมแต่ละพันธุ์ พบว่าสามารถเรียงลำดับความทนแล้งจากมากไปหาน้อยได้เป็นข้าวพันธุ์ กข 15 หอมคลองหลวง 1  ปทุมธานี 1 ขาวดอกมะลิ 105 กข 33 และหอมสุพรรณบุรี ซึ่งมีปริมาณผลผลิตลดลงเท่ากับ 30, 41, 42, 47, 60 และ 61 % ตามลำดับ 

คำสำคัญ : การเจริญเติบโต; การทนแล้ง; ข้าวหอม; องค์ประกอบผลผลิต

 

Abstract

Study of efficacy for drought tolerance and the effect of water deficit stress on growth and yield of 6 aromatic rice cultivars. A pot experiment was arranged in a factorial in CRD. Thirty treatments were an interaction between 6 aromatic rice cultivars (Hawm Klong Luang 1, Khao Dawk Mali 105, RD 33, Hawm Suphan Buri, RD 15 and Pathum Thani 1) and 5 different levels of water supply, corresponding to 100 (normal condition), 50, 25, 12.5 and 0 % (drought stress condition) at the seedling and tillering stages. Although, the effect of the different water deficits on the plant length and tiller number per plant of almost all aromatic rice cultivars was negligible, the yield component, especially the percent filled grains per panicle decreased under the water deficits, while the percent undeveloped grains per panicle of all cultivars remarkably increased under drought stress. When compared the yield under the normal and drought stress conditions for the assessment of drought tolerance among 6 aromatic rice cultivars, the results revealed that RD 15 was identified as the greatest water-deficit tolerant and followed by Hawm Klong Luang 1, Pathum Thani 1, Khao Dawk Mali 105, RD33 and Hawm Suphan Buri, which showed the decrease of yield as 30, 41, 42, 47, 60 and 61 %, respectively, under water deficit. 

Keywords: aromatic rice; drought tolerance; growth; yield component

Article Details

Section
Biological Sciences