การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณในการนำไวรัสปากและเท้าเปื่อยเข้าสู่โรงเรือนสุกรของฟาร์มมาตรฐานผ่านการปนเปื้อนของมนุษย์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการศึกษานี้เพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคปากและเท้าเปื่อยเชิงปริมาณจากการนำเชื้อเข้าสู่โรงเรือนเลี้ยงสุกรผ่านการปนเปื้อนของมนุษย์ ซึ่งศึกษาในฟาร์มสุกรปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ จำนวน 4 ฟาร์ม ทั้งนี้ได้กำหนดคำถามความเสี่ยง (risk question) เป็นโอกาสในการนำไวรัสปากและเท้าเปื่อยเข้าสู่โรงเรือนเลี้ยงสุกรผ่านการปนเปื้อนของมนุษย์ในฟาร์มสุกรมาตรฐานในระยะเวลาหนึ่งปี โดยการคำนวณผ่านกระบวนการสโตแคสติกด้วยแบบจำลองมอนติคาร์โล ผลการศึกษาพบว่าโอกาสที่ไวรัสปากและเท้าเปื่อยเข้าสู่โรงเรือนเลี้ยงสุกรผ่านการปนเปื้อนของมนุษย์ในหนึ่งปีมีค่ามัธยฐานในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงเท่ากับ 1.97 x 10-8 (ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดเท่ากับ 6.86 x 10-13 ถึง 8.85 x 10-7) และผลการวิเคราะห์ความไวของปัจจัยเสี่ยง (sensitivity analysis) พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำให้ไวรัสปากและเท้าเปื่อยเข้าสู่โรงเรือนมากที่สุด ได้แก่ การเข้าฟาร์มที่เป็นโรคปากและเท้าเปื่อยก่อนเข้าโรงเรือนเลี้ยงสุกร และความชุกของโรคในพื้นที่ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการลดการนำเข้าของเชื้อ ได้แก่ การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานก่อนเข้าฟาร์มเพื่อการลดการปนเปื้อนก่อนเข้าฟาร์มและโรงเรือน ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นโอกาสการปนเปื้อนเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อยผ่านทางมนุษย์เข้าสู่ฟาร์มสุกรมาตรฐานมีน้อยมาก อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตนตามมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพและข้อกำหนดของฟาร์มเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับการป้องกันการเกิดโรค
คำสำคัญ : โรคปากและเท้าเปื่อย; การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ; ฟาร์มสุกร; การปนเปื้อนของมนุษย์
Abstract
The purpose of the study was to quantify the risk of FMD virus contaminated human into standardized swine housing. Four DLD’s certified farming are used to collect the data. In this study, the risk question was the probability of introduction of FMD virus into swine housing via human contamination in a year. The Monte Carlo method was used to estimate the stochastic risk. The results of this study show that the median of probability number of virus contamination via human into a swine housing in standardized farm was 1.97 x 10-8 (minimum to maximum; 6.86 x 10-13 to 8.85 x 10-7). The sensitivity analysis indicated that anyone who has visited an infected farm before and the disease prevalence in the area were the most influenced on risk. On the other hand, the standard operating procedure for entry into farm and housing can reduces the risk of FMD contamination. This study indicates that the likelihood of FMD’s contamination via human was very low. However, it is necessary to keep up of farm biosecurity and standard operating procedure.
Keywords: foot and mouth disease; quantitative risk assessment; swine housing; human contamination