การประเมินพื้นที่อันตรายที่เกิดจากแรงดันและสะเก็ดระเบิดจาก Pipe Bomb

Main Article Content

กันต์ไชย ธนาพรรวีกิตติ์
สมนึก ตั้งเติมสิริกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การประเมินความเสียหายจากการระเบิดนั้นสามารถวิเคราะห์ได้ตามหลักการทางวิศวกรรมที่ได้มาจากองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมการระเบิด บทความนี้ได้รวบรวมเกณฑ์ระดับของการบาดเจ็บ/เสียชีวิตจากการระเบิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นผลจากทั้งแรงดันระเบิดและสะเก็ดระเบิดสำหรับการวิเคราะห์หาแรงดันระเบิดที่แปรเปลี่ยนไปตามเวลานั้น ในบทความนี้อ้างอิงการวิเคราะห์จากสมการและกราฟใน UFC 3-340-02  โดยค่าแรงดันระเบิดสูงสุดที่เกิดขึ้นที่ระยะห่างต่าง ๆ จากจุดศูนย์กลางการระเบิดจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์การเสียชีวิตจากการระเบิด เพื่อที่จะใช้ในการประเมินรัศมีการทำลายของการระเบิดนั้น ๆ นอกเหนือไปจากแรงระเบิด อีกปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ/เสียชีวิตคือสะเก็ดระเบิด โดยที่เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินพื้นที่อันตรายของ pipe bomb ที่เกิดจากสะเก็ดระเบิดคือความหนาแน่นของสะเก็ดและ probability of kill  โดยที่ในบทความนี้ได้ยกเหตุระเบิดที่ศาลท้าวมหาพรหม สี่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 17 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 มาประกอบเป็นกรณีศึกษาการวิเคราะห์พื้นที่อันตรายที่เกิดจากการระเบิดของ pipe bomb 

คำสำคัญ : พื้นที่อันตราย; แรงดันระเบิด; สะเก็ดระเบิด; ระดับการบาดเจ็บและเสียชีวิต

 

Abstract

Explosive engineering is a science which can be employed to evaluate damage resulted from an explosion. This article reviews criteria of human injury/fatality resulted from an explosion. Damage from a blast incident mainly comes from blast pressure and fragment impact. Blast pressure-time histories at various distances from the center of pipe bomb explosion are calculated based on equations and charts presented in UFC 3-340-02. These peak pressures will be compared with the criteria of human injury/fatality from blast pressure. The standoff distance where its corresponded blast pressure meets the criteria of fatality is defined as lethal radius. In addition to blast pressure, blast fragments also cause human injury/fatality. Fragment hit density and probability of kill are additional two criteria to determine lethal area of pipe bomb. This article presents analytical approach to determine lethal area of pipe bomb by selecting the explosion incidence at Erawan shrine on August 17, 2015 as a case study. 

Keywords: lethal area; blast pressure; fragment; damage levels and lethality

Article Details

Section
Engineering and Architecture