การเปรียบเทียบระหว่างปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อคุณภาพข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1

Main Article Content

พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์
สมชาย ชคตระการ
วรภัทร ลัคนทินวงศ์
ชวินทร์ ปลื้มเจริญ
ภิรญา ชมพูผิว
อรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์

Abstract

บทคัดย่อ

การเปรียบเทียบระหว่างการใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อคุณภาพข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 10 ซ้ำ ประกอบด้วย 3 สิ่งทดลอง ได้แก่ (1) ไม่ใส่ปุ๋ย (2) ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 12.5 กิโลกรัมไนโตรเจน/ไร่ และ (3) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 12.5 กิโลกรัมไนโตรเจน/ไร่ ปลูกข้าวในกระถางจนกระทั่งถึงระยะเก็บเกี่ยว ผลการวิจัยพบว่าการใส่ปุ๋ยเคมีมีผลทำให้การเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกมากกว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปริมาณผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือก ได้แก่ น้ำหนักเมล็ด 100 เมล็ด เปอร์เซ็นต์เมล็ดดี และเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ ระหว่างการใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ เช่นเดียวกับคุณภาพการหุงต้มของข้าว ได้แก่ ระยะเวลาการหุงต้ม การยืดตัวของเมล็ดข้าวสุก ค่าการสลายเมล็ดในด่าง และความคงตัวของแป้งสุกพบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยอินทรีย์มีผลทำให้ปริมาณสารความหอม 2-acetyl-1-pyrroline เพิ่มขึ้นกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นผลการทดลองนี้จึงชี้ให้เห็นว่าการใส่ปุ๋ยเคมีทำให้ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 มีการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกเพิ่มขึ้น แต่การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้คุณภาพความหอมมากกว่าการใส่ปุ๋ยเคมี

คำสำคัญ : การใช้ปุ๋ย; ข้าว; ไนโตรเจน

 

Abstract

Comparison between application of chemical fertilizer and high quality organic fertilizer on Suphan Buri 1 rice quality that was conducted in complete randomized design with 10 replications and 3 treatments, namely, (1) no fertilizer (2) chemical fertilizer at the rate of 12.5 kg N/rai and (3) high quality organic fertilizer at the rate of 12.5 kg N/rai. The rice was planted in pot, 1 plant per pot until harvesting period. Results were revealed that the chemical fertilizer application had resulted in increasing of growth and quantity of paddy yield by approximately 15 % compared to paddy yield of organic fertilizer application. According to paddy yield quality; weight of 100 seeds, percentage of filled seeds and percentage of undeveloped kernels which did not differ between the application of chemical and organic fertilizer. Similarly to cooking quality; cooking time, ratio of length expansion, alkali spreading value and gel consistency of rice also were not different. However, 2-acetyl-1-pyrroline in grain of organic fertilizer application was higher than chemical fertilizer. Therefore, the results were indicated that the application of chemical fertilizer increased growth and yield of Suphan Buri 1 rice but applied of organic fertilizer to Suphan Buri 1 rice had resulted in more fragrant quality than applied of chemical fertilizer. 

Keywords: fertilizer application; nitrogen; rice

Article Details

Section
Biological Sciences