ปรากฏการณ์ลอมบาร์ด : การปรับเสียงในสัตว์

Main Article Content

สุปาณี เลี้ยงพรพรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

ปรากฏการณ์ลอมบาร์ดค้นพบโดยลอมบาร์ดศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศส เป็นการส่งเสียงดังขึ้นโดยไม่รู้ตัวท่ามกลางเสียงดังรบกวน ไม่ใช่รีเฟล็กซ์เพราะถูกควบคุมโดยเซรีบรัมคอร์เทกซ์ มีการศึกษาปรากฏการณ์ลอมบาร์ดที่เกิดขึ้นทั้งในมนุษย์และสัตว์ พบว่าความแตกต่างในการปรับคุณลักษณะของเสียงจะขึ้นอยู่กับระบบสัญญาณเสียงของสัตว์แต่ละชนิด สามารถนำปรากฏการณ์นี้ไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในหลายด้าน ได้แก่ การแพทย์ ภาษาศาสตร์และคอมพิวเตอร์ จิตวิทยา สถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ 

คำสำคัญ : ปรากฏการณ์ลอมบาร์ด; การปรับเสียง; สัตว์

 

Abstract

Lombard effect was discovered by Lombard, a French surgeon. It is an increase in involuntary vocalization amplitude in response to an increase in background noise. It is not a reflex because affected by cerebral cortex. The Lombard effect has been studied in human and a variety of animals. The differences in response to noise are related to the type of signal system used by each species. Lombard effect is still widely used in medicine, linguistics and computer, psychology, architecture, engineering, and animal behavior studies.  

Keywords: Lombard effect; sound modulation; animal

Article Details

Section
Biological Sciences