ผลของการจัดการน้ำและระยะปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ภายใต้ระบบการผลิตแบบประณีต (SRI)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของวิธีการจัดการน้ำและระยะปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตของข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ภายใต้ระบบการผลิตแบบประณีต (SRI) โดยปลูกข้าวฤดูนาปรัง 2558 (พฤศจิกายน 2558 ถึงกุมภาพันธ์ 2559) ณ แปลงทดลอง ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี วางแผนการทดลองแบบ 2×3 factorial in randomize completed block (RCB) จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ (1) วิธีการจัดการน้ำ 2 วิธี ได้แก่ การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง และการจัดการน้ำแบบท่วมขังตลอดฤดูการปลูก (2) ระยะปลูก 3 ระยะ ได้แก่ 20×20, 30×30 และ 40×40 เซนติเมตร พบว่าวิธีการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งส่งผลให้ความสูงต้น จำนวนรวงต่อกอ จำนวนเมล็ดต่อรวง จำนวนเมล็ดดีต่อรวง น้ำหนัก 1,000 เมล็ด และผลผลิตไม่แตกต่างจากแบบท่วมขังตลอดฤดูการปลูก อย่างไรก็ตาม ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ที่ปลูกด้วยการจัดน้ำแบบท่วมขังตลอดฤดูการปลูกให้จำนวนต้นต่อกอสูงกว่าการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง นอกจากนี้ยังพบว่าการปลูกข้าวแบบให้น้ำท่วมขังตลอดยังให้เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบต่อรวงที่ต่ำกว่าการปลูกข้าวแบบต้นเดี่ยวด้วยระยะปลูกที่กว้าง (30×30 และ 40×40 เซนติเมตร) ให้ผลผลิตเฉลี่ยที่สูงกว่าระยะชิด (20×20 เซนติเมตร) โดยการปลูกด้วยระยะ 40×40 เซนติเมตร ร่วมกับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งและแบบท่วมขังตลอดฤดูการปลูก มีแนวโน้มให้ข้าวมีการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตดีที่สุด ด้วยเหตุนี้การปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ด้วยระยะปลูกที่กว้างจะส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตภายใต้ระบบการผลิตแบบประณีต
คำสำคัญ : การปลูกข้าวแบบต้นเดี่ยว; ผลผลิต; การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง; ความหนาแน่นของประชากร; Oryza sativa cv. Riceberry
Abstract
Study on effects of water management and plant spacing on the growth, yield attributes and yield of purple Riceberry rice with System of Rice Intensification (SRI) was conducted in dry-season rice 2015 (November, 2015 to February, 2016) at the experimental field of Department of Agricultural Technology, Thammasat University, Pathum Thani province, Thailand. The trial was a 2×3 factorial arranged in a randomized complete block (RCB) with three replications. Six treatments included two methods of water management; alternate wetting drying (AWD) and conventional and three plant spacing; 20×20, 30×30 and 40x40 cm. The effect of different water management methods on plant height, panicle per hill, number of grain per panicle, number of filled grain per panicle, 1,000 grains weight and yield was not difference. However, the purple Riceberry rice growing under conventional water management method significantly increased number of plant per hill compared with alternate wetting drying water method, while the percent of unfilled grain per panicle was lower under continuously submerged soil. Wider spacing (30×30 and 40×40 cm) gave the higher yield than close spacing (20×20 cm); additionally plant spacing at 40×40 cm trended to give higher yield components. Purple Riceberry rice grown at spacing of 40×40 cm and which received both alternate wetting drying and conventional water manage system had significant higher number of plant per hill and number of panicle per hill above those in other factor combinations. Therefore, growing purple Riceberry rice at wider spacing is recommended to optimum growth and yield of this rice with system of rice intensification.
Keywords: SRI; yield; alternate wetting drying; population density; Oryza sativa cv. Riceberry