ทำไมนกตัวเมียร้องเพลง ?

Main Article Content

สุปาณี เลี้ยงพรพรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

โดยปกติแล้วนกตัวผู้จะร้องเพลงมากกว่านกตัวเมีย เพื่อเกี้ยวพาราสีและรักษาอาณาเขต แต่นกตัวเมียหลายชนิดสามารถร้องเพลงได้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ โดยอาจร้องตามลำพังหรือร้องเพลงโต้ตอบสลับกับนกคู่ผสมพันธุ์ อย่างไรก็ตาม การร้องเพลงของนกตัวเมียซับซ้อนน้อยกว่านกตัวผู้ จากรายงานการศึกษาเกี่ยวกับการร้องเพลงของนกตัวเมีย ทำให้สามารถอธิบายจุดประสงค์ที่เป็นไปได้ในการร้องเพลงของนกตัวเมีย 5 ประการ คือ (1) ป้องกันอาณาเขตจากผู้บุกรุก (2) เชิญชวนนกตัวผู้ (3) แสดงความเป็นเจ้าของนกตัวผู้ (4) ร้องขอให้ตัวผู้ช่วยเลี้ยงลูก และ (5) สื่อสารกับลูกนก ในกลุ่มนกร้องเพลง พบว่านกตัวเมียที่ร้องเพลงได้จะมีสีสันสวยงาม เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่เสียงร้องเพลงและสีขนของนกตัวเมียมีวิวัฒนาการไปด้วยกัน การร้องเพลงเป็นกลไกการปรับตัวที่สำคัญของนกตัวเมียเพื่อเพิ่มความอยู่รอดและความเหมาะสมในการขยายพันธุ์ 

คำสำคัญ : นกตัวเมีย; ร้องเพลง

 

Abstract

Male birds usually sing more than females for mate attraction and territorial defense but females of several species can sing during their breeding season with solo songs or antiphonal duet songs with mated males. However female singing is less complicated than males. From the published data on female singing, five broad explanations have been performed for the possible purposes of female singing: (1) defend their territory from the intrusions, (2) attract males, (3) show their ownership of males, (4) ask for male’s paternity, and (5) communicate with their offspring. In songbirds, females that can sing have colorfulness because female songs and their plumage colors likely evolve together. Singing is the important adaptive strategy for female birds to increase their survival and reproductive fitness.

Keywords: female bird, sing a song

Article Details

Section
Biological Sciences