การหาปริมาณฟอสฟอรัสที่พืชใช้ประโยชน์ได้ในดินโดยใช้ระบบไฮโดรไดนามิกซีเควนเชียลอินเจคชันแบบประหยัด

Main Article Content

ชนิสรา ปัญญายิ่ง
มิกิ กัณณะ
สราวุฒิ สมนาม

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาชุดไฮโดรไดนามิกซีเควนเชียลอินเจคชัน (HSI) แบบประหยัดซึ่งสามารถพกพาได้ ใช้งานง่าย ขนาดกะทัดรัด และสามารถประยุกต์ได้กับหลากหลายปฏิกิริยาด้วยหลักการฉีดแบบไฮโดรไดนามิก  สารละลายต่าง ๆ จะถูกนำเข้าสู่ท่อที่มีความยาวแน่นอนด้วยแรงดันแบบไฮโดรไดนามิกในขณะที่กระแสของตัวพาหยุดไหล ท่อที่มีปริมาตรคงที่ สำหรับการฉีดแบบไฮโดรไดนามิกถูกทำขึ้นโดยการเจาะแผ่นอะคริลิกให้ได้ความยาวและเส้นผ่านศูนย์กลางที่ต้องการ และวาล์วทั้งหมดถูกยึดติดกับแผ่นอะคริลิกเพื่อเป็นชุดที่สามารถพกพาได้สำหรับต่อเข้ากับโฟลทรูเซลล์ของเครื่องยูวี-วิสิเบิล สเปคโทรโฟโตมิเตอร์ ระบบไฮโดรไดนามิกซีเควนเชียลอินเจคชันที่นำเสนอนี้ถูกใช้ในการหาปริมาณฟอสฟอรัสที่พืชใช้ประโยชน์ได้ในดินโดยใช้ปฏิกิริยาโมลิบดีนัมบลู ซึ่งตรวจวัดทางสเปคโทรโฟโตเมทรีที่ 630 นาโนเมตร สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ได้ถูกศึกษา ได้กราฟมาตรฐานที่เป็นเส้นตรงในช่วง 0.050-20 มก./ลิตร โดยมีขีดจำกัดของการตรวจวัดเท่ากับ 0.025 มก./ลิตร จากการฉีดสารละลายมาตรฐานฟอสเฟต 2.0 มก./ลิตร ซ้ำ 11 ครั้ง พบว่าได้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์เท่ากับ 3.4 % จากการวิเคราะห์ดินโดยเปรียบเทียบผลกับวิธีมาตรฐาน พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากการใช้การทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรที่ไม่อิสระต่อกัน (paired t-test) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ค่าร้อยละการกลับคืนถูกพบในช่วง 83.5-102.5 % 

คำสำคัญ : ไฮโดรไดนามิกซีเควนเซียลอินเจคชัน; ฟอสฟอรัสที่พืชใช้ประโยชน์ได้; ดิน

 

Abstract

In this research, a cost-effective hydrodynamic sequential injection (HSI) setup which is portable, easy to use, compact and applicable to the various reactions was developed. Based on hydrodynamic injection principle, various solutions could be inserted into the well-defined length of conduit with hydrodynamic pressure while the stream of carrier was halted. A fixed-volume conduit (FVC) for hydrodynamic injection was built by drilling an acrylic block for the desired length and diameter. FVC and all valves were embedded onto the acrylic plate to obtain a portable setup which was easily connected to a flow through cell of a UV-VIS spectrophotometer. The proposed HSI system was applied to the determination of available phosphorus in soils based on molybdenum blue which spectrophotometrically detected at 630 nm. The optimum conditions for the analysis were studied. A linear calibration graph in the range of 0.050-20 mg L-1 was obtained, with LOD of 0.025 mg L-1. From the 11 repeated injection of phosphate standard solution of 2.0 mg L-1, % RSD was found to be 3.4 %. From the analysis of soils, comparing the results to the standard method, there were not significantly difference by the paired t-test at 95 % confidence level. Percent recovery was found in the range of 83.5-102.5 % 

Keywords: hydrodynamic sequential injection; available phosphorus; soil

Article Details

Section
Biological Sciences