การประมาณค่าอุณหภูมิพื้นผิวของการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม

Main Article Content

วลดา เดชะพงศ์ธนา
สุพรรณ กาญจนสุธรรม
แก้ว นวลฉวี
นฤมล อินทรวิเชียร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน หาค่าอุณหภูมิพื้นผิวของการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT 8 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งมีจำนวน 11 แบนด์ ประกอบด้วยระบบ OLI และ TIRS ได้ผ่านการปรับแก้เชิงเรขาคณิตแล้ว นำข้อมูลระบบ OLI แบนด์ที่ 1-7 มาจำแนกพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ 4 ประเภท พบว่ามีพื้นที่นาข้าว 200,594.44 ไร่ พื้นที่แหล่งน้ำ 2,595.52 ไร่ พื้นที่ชุมชนเมือง 47,283.2 ไร่ และพื้นที่ไม้ยืนต้น 68,286.84 ไร่ จากการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล มีค่าความถูกต้องทั้งหมด 84 % และนำข้อมูลระบบ OLI แบนด์ที่ 4-5 พร้อมกับข้อมูลระบบ TIRS แบนด์ที่ 10-11 มาหาค่าดัชนีพืชพรรณ ค่า fractional vegetation cover (FVC) ค่า land surface emissivity (LSE) ค่าอุณหภูมิสัมบูรณ์ (TB) แล้วนำเข้าสู่หลักการคำนวณของ split-window พบว่าค่าอุณหภูมิพื้นผิวของพื้นที่ชุมชนเมืองมีค่าอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 35.55 องศาเซลเซียส รองลงมาคือพื้นที่ไม้ยืนต้น พื้นที่แหล่งน้ำ และพื้นที่นาข้าว มีค่าอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย 32.65, 32.46 และ 32.01 องศาเซลเซียส ตามลำดับ 

คำสำคัญ : อุณหภูมิพื้นผิว; การใช้ประโยชน์ที่ดิน; หลักการ split-window; ดาวเทียม LANDSAT 8

 

Abstract

The purpose of this research was to estimate the land use and land surface temperature and analyze the relation between the land use and land surface temperature of Bang Nam Priao district, Chachoengsao province from LANDSAT 8 satellite data on November 17, 2014. There are 11 bands consisting of OLI and TIRS system which were processed through geometric correction. Data of OLI system band 1-7 were then categorized in supervised classification into 4 types of land use. The results show that rice cultivation area is 200,594.44 rai, water resources area is 2,595.52 rai, urban area is 47,283.2 rai and standing timber area is 68,286.84 rai. From the verification of the data accuracy of the classification, it was at 84 %. Data of OLI system band 4-5 and data of TIRS system band 10-11 were calculated into normalized difference vegetation index (NDVI), fractional vegetation cover (FVC), land surface emissivity (LSE) and brightness temperature (TB) by split-window algorithm. It is found that that the average LST of urban area has the highest temperature at 35.55 ºC followed by standing timber area, water resource area and rice field area at 32.65, 32.46, 32.01 ºC, respectively. 

Keywords: land surface temperature; land use; split-window algorithm; LANDSAT 8

Article Details

Section
Physical Sciences