อิทธิพลของเอนโซต่อปริมาณฝนในภาคตะวันออกของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2545-2559

Main Article Content

ปริญ หล่อพิทยากร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงอิทธิพลของเอนโซที่มีผลต่อปริมาณฝนบริเวณภาคตะวันออกของประเทศไทยจากการวิเคราะห์ข้อมูลฝน ได้แก่ ปริมาณฝนรวมตลอดปี ปริมาณฝนรวมในช่วงฤดูฝน และฤดูแล้ง รวมถึงฝนรวมรายเดือน จากสถานีตรวจวัดข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในจังหวัดทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ประกอบด้วย สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด (คลองใหญ่) โดยศึกษาในช่วงปีภาวะเอลนีโญ (ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 - มีนาคม พ.ศ. 2546, มิถุนายน พ.ศ. 2552 - เมษายน พ.ศ. 2553 และกันยายน พ.ศ. 2557 - เมษายน พ.ศ. 2559) ปีภาวะปกติ (ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 - มิถุนายน พ.ศ. 2547 และช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - ธันวาคม พ.ศ. 2556) ช่วงภาวะลานีญา (ช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 - มิถุนายน พ.ศ.2551 และช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 - พฤษภาคม พ.ศ. 2554) จากนั้นศึกษาถึงอิทธิพลของเอนโซที่มีผลต่อปริมาณฝนบริเวณภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยใช้สถิติ t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % จากผลการศึกษาปรากฏว่าปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดภาคตะวันออกในปีภาวะเอลนีโญน้อยกว่าปีภาวะปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปริมาณฝนในปีภาวะลานีญาน้อยกว่าปีภาวะปกติอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณฝนในช่วงฤดูฝนในปีภาวะเอลนีโญและปีภาวะลานีญาน้อยกว่าปีภาวะปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณฝนในช่วงฤดูแล้งในปีภาวะเอลนีโญและปีภาวะลานีญามากกว่าปีภาวะปกติอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและมีนัยสำคัญทางสถิติ ตามลำดับ เมื่อศึกษาปริมาณฝนรายเดือนของแต่ละสถานีพบว่าเอลนีโญมีอิทธิพลต่อปริมาณฝนในบริเวณสระแก้วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อิทธิพลของลานีญาไม่มีอิทธิพลต่อปริมาณฝนในบริเวณภาคตะวันออก สำหรับช่วงฤดูฝนเอลนีโญมีผลต่อปริมาณฝนอย่างชัดเจนบริเวณสระแก้ว และลานีญามีอิทธิพลต่อปริมาณฝนบริเวณชลบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับฤดูแล้งเอลนีโญและลานีญาไม่มีอิทธิพลต่อปริมาณฝนบริเวณภาคตะวันออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 

คำสำคัญ : เอนโซ; ปริมาณฝน; ภาคตะวันออกของประเทศไทย

 

Abstract

The aim of this research is to study the influence of ENSO on rainfall in Eastern Thailand. Annual, wet and dry seasonal rainfall data from meteorological stations located in Eastern Thailand including Sa Kaeo, Prachin Buri, Chachoengsao, Chon Buri, Rayong, Chantaburi and Trad (Khlong Yai) were used for the analysis. The ENSO events used in this study consist of El Nino periods during June 2002 - March 2003, June 2009 - April 2010 and September 2014 - April 2016, moderate periods during June 2003 - June 2004 and February 2013 - December 2013 and La Nina periods during July 2007 - June 2008 and June 2010 - May 2011. The statistical method (t-test) at 95 % confidence interval was employed to assess the influence of ENSO on rainfall in Eastern Thailand. The results show that annual rainfall in Eastern Thailand during El Nino period was significantly less than that during moderate period, and rainfall during La Nina period was insignificantly less than that during moderate period. For wet season, rainfall during El Nino and La Nina periods was significantly less than that during moderate period, and for dry season, rainfall during El Nino and La Nina periods was insignificantly and significantly, respectively, higher than that during moderate period. Monthly rainfall at each station indicate that the influence of El Nino on rainfall just in Sa Kaeo province was significant. La Nina did not significantly affect rainfall at all stations. During wet season, the influence of El Nino on rainfall was significant for Sa Kaeo very clear while that of La Nina was significant just for Chon Buri province. El Nino and La Nina did not significantly affect rainfall at all stations in Eastern Thailand during dry season. 

Keywords: ENSO; rainfall; Eastern Thailand

Article Details

Section
Physical Sciences