การพัฒนาตัวแบบการถดถอยสำหรับการประมาณต้นทุนขั้นต้นงานก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูงในนิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทย

Main Article Content

นันทชัย กานตานันทะ
วุฒิชัย จันทร์อินทร์

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบการถดถอยสำหรับการประมาณต้นทุนที่รวดเร็วและเหมาะสมของงานก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง ขนาด 63, 110, 160 และ 225 มิลลิเมตร ในระบบโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติพื้นที่เหมราชโดยการเก็บรวมรวมข้อมูลของโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2556 รวมทั้งหมดจำนวน 70 ข้อมูล จาก 46 โครงการ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรก จำนวน 60 ข้อมูล จาก 38 โครงการ ใช้ในการสร้างตัวแบบการถดถอย และส่วนที่สอง จำนวน 10 ข้อมูล จาก 8 โครงการ ใช้ในการตรวจสอบตัวแบบการถดถอย ข้อมูลต้นทุนรวมของการก่อสร้างแต่ละโครงการประกอบด้วย ต้นทุนวัสดุ ต้นทุนแรงงาน และต้นทุนงานสำรวจรวมทั้งการออกแบบและขออนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการถดถอยแบบขั้นบันไดพบว่าตัวแปรอิสระที่มีนัยสำคัญได้แก่ ความยาวท่อ จำนวนวาล์ว วิธีการก่อสร้าง และประเภทการใช้งานของท่อ ในขณะที่ค่าร้อยละของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยสัมบูรณ์ของค่าประมาณต้นทุนรวมสำหรับข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบตัวแบบมีค่าอยู่ระหว่าง 3.03 ถึง 12.80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ดังนั้นตัวแบบการถดถอยนี้ช่วยให้การประมาณต้นทุนขั้นต้นทำได้รวดเร็วและเทคนิคนี้สามารถนำไปใช้ได้จริง 

คำสำคัญ : ตัวแบบการถดถอย; การถดถอยแบบขั้นบันได; การประมาณต้นทุนขั้นต้น; ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

 

Abstract

The objective of this research is to develop the regression models for rapid and suitable cost estimation of the High Density Polyethylene natural gas pipeline of sizes 63, 110, 160 and 225 millimeters. This natural gas pipeline network is located in Hemaraj area. Total of 70 data from 46 projects from years 2009 to 2013 were collected for the study. These data are divided into two parts. The first part, 60 data from 38 projects, is used to develop regression models and the second part, 10 data from 8 projects, is used to test the performance of the regression models. The total construction cost of each project is composed of material cost, labor cost, and survey cost including design and Right of Way (ROW) permission cost. By using stepwise regression, the results indicate that significant independent variables are pipe length, number of valves, construction methods, and categories of pipeline functions. The mean absolute percentage errors of the estimates of total costs for the testing data are in the range of 3.03 to 12.80 percent which are acceptable. Thus, these regression models can expedite the preliminary cost estimation and this technique is applicable to actual practice. 

Keywords: regression model; stepwise regression; preliminary cost estimation; natural gas pipeline

Article Details

Section
Engineering and Architecture