การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกระท้อนด้วยเครื่องหมายสก๊อต

Main Article Content

ธีระชัย ธนานันต์
ทีปกา มีเสงี่ยม
สุพัตรา โพธิ์เอี่ยม

Abstract

บทคัดย่อ

กระท้อนเป็นผลไม้ไทยที่มีความสำคัญและได้รับความนิยม แต่การระบุพันธุ์ด้วยลักษณะสัณฐานยังมีความยุ่งยากและเกิดความสับสนได้ง่าย เนื่องจากมีพันธุ์ใหม่ที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ด้วยการผสมพันธุ์และการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงใช้เครื่องหมายสก๊อตมาตรวจสอบกระท้อน 22 ตัวอย่าง โดยใช้ไพรเมอร์สก๊อต 80 ชนิด พบว่าไพรเมอร์ 13 ชนิด สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ เมื่อตรวจสอบกับดีเอ็นเอของกระท้อนแต่ละตัวอย่าง พบว่าสามารถแยกความแตกต่างระหว่างตัวอย่างได้ด้วยแถบดีเอ็นเอจำเพาะ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.55 ถึง 0.93 (เฉลี่ย 0.715) โดยผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากระท้อนในประเทศไทยมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง มีพันธุ์จำนวนมาก และในแต่ละพันธุ์มีความผันแปรทางพันธุกรรมสูง 

คำสำคัญ : กระท้อน; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม; เครื่องหมายดีเอ็นเอ; เครื่องหมายสก๊อต

 

Abstract

Santol [Sandoricum koetjape (Burm. f.) Merr.] is one of the important and popular fruits in Thailand. Identification based on morphology is difficult and easily confused because of the occurrence of new varieties from breeding and asexual propagation. Start codon targeted (SCoT) markers were used to identify 22 samples of santol. The total 80 SCoT primers were screened, then 13 primers could be used for DNA amplification to analyze all samples. The result showed differences among 22 samples with specific DNA bands. A dendrogram based on polymorphic bands showed genetic similarities among santol with similarity coefficients ranging from 0.55 to 0.93. Finally, these results indicated that genetic diversity of santol in Thailand is quite high, there are many varieties, and each varieties has a high genetic variability. 

Keywords: santol; genetic relationship; DNA marker, SCoT marker

Article Details

Section
Biological Sciences