ลักษณะทางสรีรวิทยาของข้าวที่ตอบสนองต่อสภาวะความเค็ม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางสรีรวิทยาของข้าว จำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่ ปทุมธานี 1, ขาวดอกมะลิ 105, กข 31, กข 41 และ กข 47 หลังจากได้รับสารละลายโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 0 และ 200 มิลลิโมลาร์ เป็นเวลา 7 วัน จากการศึกษาพบว่าสารละลายโซเดียมคลอไรด์มีผลทำให้ปริมาณโซเดียมไอออน อัตราส่วนระหว่างโซเดียมไอออนและโพแทสเซียมไอออน และการรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์ภายในใบเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะปกติ รวมทั้งพบว่าปริมาณโซเดียมไอออนที่เพิ่มขึ้นชักนำอัตราส่วนระหว่างโซเดียมไอออนและโพแทสเซียมไอออนภายในใบเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันพบว่าปริมาณโพแทสเซียมไอออน ปริมาณรงควัตถุภายในใบ และการเจริญเติบโตลดลง จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของปริมาณโซเดียมไอออน ปริมาณโพแทสเซียมไอออน อัตราส่วนระหว่างโซเดียมไอออนและโพแทสเซียมไอออน การรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์ ปริมาณรงควัตถุภายในใบ และการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวเมื่อได้รับสภาวะความเค็ม โดยอาจนำข้อมูลจากการศึกษามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจำแนกความสามารถในการทนทานต่อสภาวะความเค็มของต้นกล้าข้าวได้
คำสำคัญ : ข้าว; สรีรวิทยา; สภาวะความเค็ม; รงควัตถุ
Abstract
The objective of this study was to investigate the physiological characteristics of five rice varieties; Pathumthani 1 (PTT1), Khao Dawk Mali 105 (KDML105), RD31, RD41 and RD47 subjected to 0 or 200 mM NaCl for 7 days. The results exhibited that the salinity was significantly increased the sodium ion (Na+) content, Na+: K+ ratio and electrolyte leakage in leaves when compared to the control. Furthermore, an increase in the Na+ content induced Na+: K+ ratio in leaves. Whereas, the potassium ion (K+), photosynthetic pigment concentrations and growths were reduced. From this study showed that the change of the Na+ content, Na+: K+ ratio, electrolyte leakage, photosynthetic pigment concentrations and growths of rice seedlings when exposed to salinity. These data may be used to the basic data for screening the salt tolerance ability of rice seedlings.
Keywords: rice; physiology; salinity; pigment