คุณภาพของการวิเคราะห์สารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีนในปัสสาวะโดยหลักการเอนไซม์อิมมูโนแอสเสย์ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

กฤษฎา ศิริสภาภรณ์
นฤมล เสรีขจรจารุ
สุภาพร พุ่มพา
พลากร พุทธรักษ์
รสสุคนธ์ ธนธีระบรรจง

Abstract

บทคัดย่อ

การตรวจสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน (AMPHs) ในปัสสาวะโดยวิธีเอนไซม์อิมมูโนแอสเสย์ (EIA) ยังขาดการประเมินคุณภาพโดยเทียบกับวิธีมาตรฐาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาคุณภาพของการตรวจสาร AMPHs ในปัสสาวะด้วยวิธี EIA ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยเทียบกับวิธีมาตรฐานแกสโครมาโตกราฟฟี-แมสสเปคโตรเมตรี (GC-MS) ของงานตรวจพิสูจน์สารเสพติด สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี โดยศึกษาจากตัวอย่างปัสสาวะจำนวน 62 ตัวอย่าง ที่ให้ผลบวกและผลลบกับวิธี GC-MS ร้อยละ 53.23 (33/62) และ 46.77 (29/62) ตามลำดับมาตรวจด้วยวิธี EIA กับเครื่องตรวจวิเคราะห์โดยใช้ค่า cut-off เท่ากับ 500 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ผลการศึกษาพบว่าวิธี EIA แสดงค่าความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก ค่าทำนายผลลบ และค่าประสิทธิภาพร้อยละ 81.82, 100.00, 100.00, 82.86 และ 90.32 ตามลำดับ และทั้งสองวิธีมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ด้านการทดสอบความแม่นยำของวิธี EIA กับสารมาตรฐานพบว่ามีความแม่นยำสูง แสดงค่าร้อยละของสัมประสิทธิ์ความผันแปรน้อยกว่าร้อยละ 15 จากการศึกษาสรุปว่าวิธี EIA สำหรับการตรวจสาร AMPHs ในปัสสาวะมีคุณภาพเมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐาน GC-MS อย่างไรก็ตาม วิธี EIA สามารถเกิดการข้ามปฏิกิริยากับสารชนิดอื่นได้ จึงควรใช้ตรวจในระดับคัดกรองและควรยืนยันผลด้วยวิธีมาตรฐานต่อไป 

คำสำคัญ : ตรวจวัด; แอมเฟตามีน; เมทแอมเฟตามีน; อิมมูโนแอสเสย์; ปัสสาวะ

 

Abstract

The measurement of amphetamines (AMPHs) drug abuse in urine by enzyme immunoassay method (EIA) is remains less in terms of quality in comparison to reference methods. Consequently, this study aims to investigate quality of EIA method for the purpose of detecting amount of AMPHs in urine samples in Thammasat University Hospital compare to the GC-MS, reference standard method, set by Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment. All 62 urine samples were identified with positive and negative results of amphetamine/ methamphetamine (Pos. A/M and Neg. A/M) by GC-MS as 53.23 % (33/62) and 46.77 % (29/62), respectively. The samples were then tested using the EIA method with setting cut-off at 500 nanogram per milliliter. The results illustrated percent of sensitivity, specificity, positive predictive value, negative predictive value and efficiency as 81.82, 100.00, 100.00, 82.86 and 90.32 respectively. The EIA and GC-MS methods are remain significant. The traditional precision results of EIA method tried with reference standard control material announced percent of coefficient of variation (% CV) no exceed 15 %. Conclusion, EIA method for measuring AMPHs in urine is in terms of quality when compare with GC-MS. However, the EIA method has a high possibility of cross reactivity with other chemical structures so it should only be use in screening tests and should be further confirmation by GC-MS, reference standard method. 

Keywords: measuring; amphetamines; methamphetamine; immunoassay; urine

Article Details

Section
Medical Sciences