การใช้เถ้าแกลบและเถ้าลอยเป็นวัสดุปอตโซลานสำหรับการปรับเสถียรและการหล่อแข็งกากตะกอนโครเมียมในรูปอิฐบล็อกประสานสำหรับใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบการใช้เถ้าแกลบและเถ้าลอยเป็นวัสดุปอตโซลานสำหรับการปรับเสถียรและการหล่อแข็งกากตะกอนโครเมียมจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานชุบโลหะให้อยู่ในรูปของอิฐบล็อกประสานที่มีค่ากำลังต้านแรงอัดสูงเทียบเท่ามาตรฐานคอนกรีตบล็อกเชิงตันรับน้ำหนัก มอก. 60-2516 ชั้นคุณภาพ ค-2 สำหรับใช้ในการก่อสร้างกำแพงที่มีการฉาบปูน และอิฐบล็อกประสานที่ได้จะต้องมีปริมาณโครเมียมถูกชะละลายออกมาด้วยวิธีทดสอบ TCLP ไม่เกิน 5 มก./ล. อิฐบล็อกประสานผลิตขึ้นจากส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ วัสดุปอตโซลาน (เถ้าแกลบหรือเถ้าลอย) และหินฝุ่น ในอัตราส่วน 1:1:7 โดยน้ำหนัก ผสมรวมกับน้ำร้อยละ 15 ของน้ำหนักรวม การปรับเสถียรและการหล่อแข็งกากตะกอนโครเมียมทำโดยนำกากตะกอนโครเมียมไปทดแทนหินฝุ่นโดยปริมาตรที่อัตราทดแทนต่าง ๆ แล้วอัดเป็นก้อนอิฐบล็อกประสานแล้วนำไปบ่มชื้น เมื่อนำมาทดสอบการชะละลายด้วยวิธี TCLP พบว่าความเข้มข้นของโครเมียมในน้ำสกัดของอิฐบล็อกที่อัตราการทดแทนกากตะกอนโครเมียมในหินฝุ่นทั้งหมดมีค่าต่ำกว่า 5 มก./ล. หลังจาการบ่มชื้น 28 วัน อิฐบล็อกประสานที่ผ่านเกณฑ์ค่ากำลังต้านแรงอัดที่กำหนด และมีอัตราทดแทนกากตะกอนโครเมียมสูงสุด คืออิฐบล็อกผสมเถ้าแกลบที่อัตราทดแทนกากตะกอนโครเมียมในหินฝุ่นร้อยละ 30 และอิฐบล็อกประสานผสมเถ้าลอยที่อัตราทดแทนกากตะกอนโครเมียมในหินฝุ่นร้อยละ 20 และเถ้าแกลบเป็นวัสดุปอตโซลานที่ดีกว่าเถ้าลอยในการการปรับเสถียรและหล่อแข็งกากตะกอนโครเมียมในรูปอิฐบล็อกประสาน ที่อัตราส่วนผสมเท่ากันอิฐบล็อกประสานผสมเถ้าแกลบมีกำลังต้านแรงอัดสูงกว่าอิฐบล็อกประสานผสมเถ้าลอย และเถ้าแกลบสามารถลดการชะละลายของโครเมียมออกจากอิฐบล็อกประสานได้ดีกว่าเถ้าลอย
คำสำคัญ : เถ้าแกลบ; เถ้าลอย; กากตะกอนโครเมียม; การหล่อแข็ง; อิฐบล็อกประสาน
Abstract
The objective of this research was to compare the utilization of rice hush ash (RHA) and fly ash (FA) as pozzolanic materials for stabilization and solidification of chromium sludge from electroplating wastewater treatment plant in the form of concrete interlocking block for using as construction materials. The compressive strength of concrete interlocking block must comply with the Thai Industrial Product Standards (TIS) no. 60-2516 and chromium concentration in the leachate after extraction by TCLP method must be lower than 5 mg/L. The concrete interlocking blocks were made from the mixture of ordinary portland cement, pozzolanic material (RHA or FA) and fine aggregate in the ratio of 1:1:7 by weight and mixed with 15 percent of water by total weight. The fine aggregate was replaced with chromium sludge in different ratios by volume. After 28 days of wet curing, the RHA concrete block with highest replacement ratio of 30% had compressive strength higher than TIS no. 60-2516 and the FA concrete block with highest replacement ratio of 20% had compressive strength higher than TIS no. 60-2516. RHA was more effective than FA in term of compressive strengths of solidified concrete blocks and reduction of chromium leachability.
Keywords: rice husk ash; fly ash; chromium sludge; solidification; concrete interlocking block