การประเมินผลประโยชน์ทางพลังงาน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเทคโนโลยีที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ประเทศไทยมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในทุกภาคส่วนตามนโยบายการส่งเสริมของรัฐบาล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินผลประโยชน์ทางพลังงาน ผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมในรูปของการลดก๊าซเรือนกระจก และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์จากการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนดาดฟ้าอาคารเรียน จำนวน 17 อาคาร ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ผลการศึกษาสรุปได้ว่าดาดฟ้าอาคารเรียนมีพื้นที่สามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้ประมาณ 2.14 MWp ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ทั้งหมดประมาณ 2.77 GWh/ปี หรือ 5.8 % ของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ของอาคารเรียนทั้งหมด และสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 1,570 tCO2e/ปี เมื่อพิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์พบว่ามีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ของโครงการมีค่าระหว่าง 8.50 ถึง 8.69 % และมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 10 ปี นอกจากนี้งานวิจัยได้วิเคราะห์ความอ่อนไหว (sensitivity analysis) และวิเคราะห์สถานการณ์ (scenario analysis) ของผลตอบแทนโครงการต่อปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ (1) อายุการใช้งานของระบบ (2) อัตราการเพิ่มของอัตราค่าไฟฟ้า และ (3) ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนบริหารจัดการโครงการ
คำสำคัญ : ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา; ผลประโยชน์ทางพลังงาน; ผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม; ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
Abstract
Electricity generation from solar energy is considered a clean technology that supports sustainable development. It has been implemented in many sectors, including industries, residential in Thailand according to the Thai government's policy. The objectives of this research are to assess the energy benefit, environmental benefit in terms of greenhouse gas (GHG) reduction, and economic feasibility of implementing solar rooftop systems on the buildings of Thammasat University, Rangsit centre. The summarized results show that the rooftops of the buildings can be installed solar rooftop systems with the total capacity at approximately 2,140.2 kWp, which can generates 2.77 GWh of electricity per year or 5.8 % of the total annual electricity consumption of all buildings in this study. It contributes to approximately 1,570 tCO2e of greenhouse gas (GHG) reduction per year by displacing electricity that would be provided to the grid by more-GHG-intensive means. The economic feasibility analysis demonstrates that the project is economically feasible with the IRR of 8.50-8.69 % and the payback period of approximately 10 years. Moreover, the sensitivity analysis and scenario analysis were carried out to assess the effect of risk factors, including (1) the system lifetime, (2) the electricity escalation rate, and (3) the operating and maintenance cost, on project's return. The results give the useful information for project management under uncertainty.
Keywords: solar rooftop system; energy benefit; environmental benefit; economic feasibility