Information For Authors

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

บทความที่เผยแพร่ในวารสารมี 2 ประเภท คือ

1. บทความวิจัย (research article) ที่มีลักษณะและรูปแบบการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่น ตั้งสมมุติฐานโดยระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ได้ค้นคว้าทดลองอย่างมีระบบ และสรุปผลการวิจัยที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

2. บทความวิชาการ (review article) ในลักษณะเชิงวิเคราะห์หรือวิจารณ์ และเสนอแนวคิดใหม่บนพื้นฐานวิชาการ อันก่อเกิดองค์ความรู้หรือสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ 

การเตรียมต้นฉบับ

บทความวิจัยและบทความวิชาการประกอบด้วย

1. ชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ไม่ยาวเกินไป แต่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งบทความ ให้พิมพ์กลางหน้ากระดาษ

2. ชื่อผู้เขียนทุกคน ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ให้พิมพ์กลางหน้ากระดาษ (ใต้ชื่อเรื่อง)

3. ที่อยู่หรือหน่วยงานสังกัดของผู้เขียนทุกคน ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ให้พิมพ์กลางหน้ากระดาษ (ใต้ชื่อผู้เขียนแต่ละคน)

4. บทคัดย่อและ Abstract เป็นการสรุปสาระสำคัญของเรื่อง ความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ ให้พิมพ์ชิดขอบหน้ากระดาษ โดยคำว่า “Abstract” เฉพาะอักษรตัวแรก (A) ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่

5. คำสำคัญและ Keywords มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์ต่อจากบทคัดย่อและ Abstract ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ ประมาณ 3-6 คำ

6. เนื้อหา ให้พิมพ์แบบคอลัมน์เดียวและให้จัดชิดขอบทั้งสองด้าน เมื่อผลงานผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนได้แก้ไขต้นฉบับแล้ว ทางวารสารจะจัดเป็นแบบสองคอลัมน์และส่งให้ผู้เขียนตรวจสอบอีกครั้งก่อนการพิมพ์

6.1 กรณีบทความวิจัย เนื้อหาควรประกอบด้วย

6.1.1 บทนำ อธิบายความสำคัญและเหตุผลการวิจัย การตรวจเอกสาร (literature review) และวัตถุประสงค์ในการวิจัย

6.1.2 อุปกรณ์และวิธีการ อธิบายอุปกรณ์และวิธีการวิจัย

6.1.3 ผลการวิจัยและวิจารณ์ อาจเขียนรวมหรือแยกกันก็ได้ ควรเรียงลำดับเนื้อหา สั้น กะทัดรัด และควรเสนอในรูปแบบตาราง รูป หรือกราฟ (หัวข้อ คำอธิบาย และเนื้อหาในตาราง รูป และกราฟต้องใช้ภาษาอังกฤษ) ผู้เขียนควรวิจารณ์ผลการวิจัยเพื่อให้ผู้อ่านเห็นด้วยตามหลักการ หรือคัดค้านทฤษฎีที่มีอยู่เดิม โดยอาจเปรียบเทียบกับการวิจัยของผู้อื่น และควรมีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการวิจัยในอนาคต

6.1.4 สรุป ควรสรุปสาระสำคัญที่ไม่คลุมเครือ เน้นข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนา

6.1.5 กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) ควรแสดงความขอบคุณต่อผู้ให้ความช่วยเหลือจนงานวิจัยสำเร็จ

6.1.6 References ให้ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด เรียงตามลำดับการอ้างอิงก่อนหลัง โดยใช้เลขอารบิกในวงเล็บใหญ่ รายการอ้างอิงใดที่เนื้อหาเป็นภาษาไทยให้เพิ่ม (in Thai) ไว้ท้ายสุด (ดูตัวอย่างการเขียนรายการอ้างอิง)

6.2 กรณีบทความวิชาการ เนื้อหาควรประกอบด้วย บทนำ เนื้อเรื่อง สรุป และ References 

ต้นฉบับต้องพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Office Word ตัวอักษรแบบ TH Sarabun New ขนาดกระดาษ A4 ความยาวไม่เกิน 12 หน้า พิมพ์แบบคอลัมน์เดียว มีระยะห่างจากขอบกระดาษแต่ละด้านละ 1 นิ้ว โดยมีขนาดและชนิดตัวอักษรดังนี้

1. ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ขนาด 22 pt ตัวหนา

2. ชื่อผู้เขียน (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ขนาด 16 pt ตัวธรรมดา

3. ที่อยู่หรือหน่วยงานสังกัดของผู้เขียน (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ขนาด 13 pt ตัวเอน

4. หัวข้อ “บทคัดย่อ” “Abstract” และหัวข้อเรื่อง ขนาด 16 pt ตัวหนา

5. หัวข้อเรื่องย่อย ขนาด 14 pt ตัวหนา

6. บทคัดย่อ Abstract เนื้อเรื่อง คำสำคัญ และ Keywords ขนาด 14 ตัวธรรมดา 

หลักเกณฑ์การอ้างอิง

1. การอ้างอิง ต้องอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลกำกับด้วยเลขอารบิกอยู่ในวงเล็บใหญ่ ใส่ไว้ท้ายข้อความตามลำดับการอ้างอิงก่อน-หลัง โดยให้ตรงกับหมายเลขใน Reference ตัวอย่างการอ้างอิงในบทความ เช่น สมศักดิ์ และคณะ พบว่าปริมาณออกซิเจนในน้ำมีผลต่อการออกไข่ของปลา [1] หรือมีการค้นพบว่าปริมาณออกซิเจนในน้ำมีผลต่อการออกไข่ของปลา [1]

2. การอ้างอิงจำนวนหน้าของวารสาร การอ้างอิงเพียง 1 หน้า ให้ใช้ “p.” นำหน้าเลขหน้าที่ใช้อ้างอิง และการอ้างอิงมากกว่า 1 หน้า ขึ้นไปให้ใช้ “pp.” นำหน้าเลขหน้าที่ใช้อ้างอิง

3. เอกสารที่ไม่ใช่วารสาร ให้บอกจำนวนหน้าด้วย โดยใช้ “p.” ตามหลังจำนวนหน้าทั้งหมด

4. ชื่อวารสารให้ใช้คำย่อ ยกเว้นถ้ามีคำเดียว ให้เขียนเต็ม

5. ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษที่อ้างอิงทุกคำ ให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ (capital letter) ยกเว้นคำนำหน้านาม (article) คำสันธาน (conjunction) และคำบุรพบท (preposition) บางกรณี เช่น ชื่อสปีชีส์ (species) ซึ่งขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์เล็กอยู่แล้ว ให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก แต่หากคำเหล่านี้เป็นคำแรกของชื่อเรื่อง ให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ยกเว้นการอ้างอิงชื่อเรื่องจากวารสารให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรก

6. เอกสารที่มาจากการประชุม ให้เขียนชื่อเต็มของการประชุมหรือสัมมนานั้นด้วย

7. ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) ให้ใช้ตัวเอน โดยชื่อสกุล (genus) ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนชื่อ สปีชีส์ (species) ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก

8. คำว่า in vitro หรือ in vivo หรือคำอื่นในประเภทเดียวกัน ให้ใช้ตัวเอน

9. การอ้างอิงจากข้อมูลเว็บไซต์ ให้ระบุวัน เดือน ปี ที่สืบค้นข้อมูลด้วย 

ตัวอย่างการเขียนรายการอ้างอิง

1. หนังสือหรือตำรา (text)

1.1 กรณีอ้างโดยตรง

[1]   Thanananta, T., 2006, Genetics Laboratory, Doctrine, Department of Biotechnology faculty of Science and Technology, Thammasat University, Pathum Thani, 130 p. (in Thai)

[2]   Thanananta, T., 2010, Molecular Genetics, Department of Biotechnology faculty of Science and Technology, Thammasat University, Pathum Thani, 148 p. (in Thai)

[3]   Watson, J.D., Baker, T.A., Bell, S.P., Gann, A., Levine, M. and Losick, R., 2004, Molecular Biology of the Gene, 5th Ed., Pearson Education, Inc., San Francisco, 732 p.

1.2 กรณีอ้างอิงเอกสารของบุคคลหนึ่งที่ปรากฏในหนังสือที่รวบรวมโดยอีกบุคคลหนึ่ง

[1]   Peyachoknagul, S., 1997, Identification of Plants Using Molecular Markers, pp. 57-82, In Thanananta, T. (Ed.), Identification of Plants Using Biomolecular Techniques, Department of Biotechnology faculty of Science and Technology, Thammasat University, Pathum Thani. (in Thai)

[2]   Socott, G.E., 1980, Quantitaive Genetics, pp. 300-310, In Love, S.H. (Ed.), Animal Breeding, John wiley Sons, Inc., New York.

2. วารสาร (journal)

[1]   Thanananta, N., Pumeiam, S. and Thanananta, T., 2013, Identification and genetic relationship of Rhynchostylis gigantea and their hybrids using HAT-RAPD markers, Thai Sci. Technol. J. 21: 360-370. (in Thai)

[2]   Mahasarakul, K., Sakkayawong, N., Na Nakorn, P., Nakbanpote, W. and Pratoomchai, R., 2013, Shelf-life of herbal beverage from Thunbergia laurifolia Lindl. in bottles: Chemical and physical properties and antioxidant activities, Thai J. Sci. Technol. 2: 140-152. (in Thai)

[3]   Thanananta, T., Engkagul, A., Peyachoknagul, S., Pongtongkam, P. and Apisitwa nich, S., 1997, Cloning of 1-aminocyclopropane-1-carboxylate deaminase gene from soil microorganism, Thammasat Int. J. Sci. Tech. 2(2): 56-59.

[4]   Thanananta, T., Pongtongkam, P., Thongpan, A., Kaveeta, L. and Peyachoknagul, S., 2006, Effect of short-day photoperiod on DNA methylation and expression of a gene in rice KDML 105, Afr. J. Biotechnol. 5: 1375-1382.

3. รายงาน (report and proceeding)

[1]   Thanananta, T., 2012, Study on Genetic Diversity of Dendrobium spp., Ueang Sai Group in Thailand, Research Report, Thammasat University, Pathum Thani, 54 p. (in Thai)

[2]   Schwart, S.E, 1980, Biological Control of Insect Pests, Ann. Meeting Abstr. Amer. Soc. Agr. Sci., p. 37.

4. วิทยานิพนธ์ (thesis)

[1]   Thanananta, T., 1995, Cloning of 1-aminocyclopropane-1-carboxylate deaminase gene from soil microorganism, Master Thesis, Kasetsart University, Bangkok, 133 p. (in Thai)

[2]   Sakkayawong, N., 2006, Application of Chitin of Textile Wastewater Treatment, Doctoral Dissertation, King Monghut’s University of Technology Thonburi, Bangkok, 130 p.

[3]   Nattapong Chanchula, 2015, Biotechnological Techniques for Improvement of Native Torenia and their Hybrids, Doctoral Dissertation, Kasetsart University, Bangkok, 114 p.

5. เว็บไซต์ (web site)

[1]   Wasuwat, S., Types of Lotus and Water Lily Which Grown in Thailand, Available Source: https://www.thaiwaterlily.com, May 8, 2011. (in Thai)

[2]   Commonwealth of Australia 2011, Bureau of Meteorology (ABN 92 637 533 532 S.O.I. (Southern Oscillation Index) Archives 1876 to present, Available Source: https://www.bom. gov.au/climate/current/soihtm1.shtml, April 18, 2011.